ของไม่จริง...แต่ทำเงินได้จริง
ก๊อบปี้-ลอก เลียนแบบ กับหลาย ๆ อย่างผิดกฎหมาย แต่กับบางอย่างก็เป็นช่องทางทำเงินที่ถูกกฎหมาย แถมทำเงินได้น่าทึ่ง อย่างเช่นงาน “โมเดลอาหารจำลอง” ที่เป็น “ช่องทางทำกิน” ที่น่าสนใจ...
“นิธิ นันท์ ธนันศิริเชษฐ์” เจ้าของร้านกิ๊ฟท์เก๋ มีอาชีพรับบริการผลิตโมเดล “อาหารจำลอง” เจ้าตัวเล่าว่า จากการที่ร้านอาหารต่าง ๆ เกิดความต้องการโมเดลอาหารจำลอง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการวางโชว์สินค้าที่เป็นของจริง ๆ ซึ่งระยะแรกจะเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากระยะหลังร้านอาหารไทยแท้ ๆ ก็ต้องการใช้ ขณะที่โมเดลนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอาหารต่างประเทศ จึงคิดกันว่าในบ้านเราก็มีคนทำที่มีฝีมืออยู่ จึงคิดว่าน่าจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นธุรกิจได้ จึงตัดสินใจลงมือทำอาชีพนี้
งาน โมเดลอาหารจำลองนี้เริ่มแพร่หลายมาจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักจากวงการโฆษณาในรูปแบบของการทำ ม็อคอัพ (Mockup) ซึ่งเริ่มนิยมในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยระยะแรกยังไม่ค่อยมีกระแสตอบรับมากนัก เนื่องจากร้านค้าและลูกค้ายังมีทัศนคติแง่ลบกับอาหารจำลองอยู่ ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเริ่มไม่ดี ลูกค้าต่างก็พยายามลดต้นทุน ซึ่งอาหารที่วางโชว์หน้าร้านก็ถือเป็นต้นทุน จึงทำให้อาหารจำลองได้รับความนิยม เรียกว่าสวนกระแสสินค้าอื่น ๆ เลยทีเดียว
“หลัง เศรษฐกิจขาลง ลูกค้าก็เพิ่มขึ้น เพราะลูกค้าต้องการตัดค่าใช้จ่ายในการใช้วัตถุดิบจริงหรืออาหารจริงมาโชว์ อีกเรื่องคืออายุการใช้งาน อาหารจริงที่นำมาวางโชว์จะมีระยะเวลาใช้งานไม่นาน ขณะที่อาหารจำลองสามารถเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี หากลูกค้าไม่เปลี่ยนเมนูไปเสียก่อน”
รูปแบบสินค้า นิธินันท์บอกว่า หลัก ๆ ก็จะแบ่งประเภทเป็น อาหารคาว (แบ่งออกเป็น อาหารไทย อาหารต่างประเทศ) อาหารหวาน และ เครื่องดื่ม นอกจากนี้ก็ยังมีโมเดลจำลองที่เป็นวัตถุดิบของร้านอาหาร อาทิโมเดลรูป ไก่, เป็ด, หมูย่าง, หมูกรอบ, หมูแดง, ผัก และผลไม้ โดยกลุ่มลูกค้ามีทั้งร้านอาหารในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทโฆษณาที่ต้องการสินค้าจำลองสำหรับใช้ในการถ่ายทำโฆษณา
ช่อง ทางการจำหน่ายโมเดล “อาหารจำลอง” นอกจากเปิดหน้าร้านแล้ว ก็ยังมีการใช้ระบบไอที-อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยด้วย โดยมีการจัดทำเว็บไซต์ www.giftkaeshopping.com สำหรับติดต่อกับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถส่งภาพถ่ายที่ต้องการทำมาให้ทางร้านได้ด้วยวิธีนี้
เมนู อาหารจำลองแต่ละเมนู ใช้ระยะเวลาในการทำราว 10 วัน หรือขึ้นอยู่กับความยากง่าย สำหรับราคาจำหน่ายชิ้นงานสำเร็จรูป และรับสั่งทำโมเดลอาหารจำลอง นิธินันท์บอกว่า เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 7 บาท ไปจนถึงชิ้นละ 10,000 บาท ขึ้นกับขนาด ความยากง่ายของชิ้นงานเป็นสำคัญ
ทุน เบื้องต้นธุรกิจนี้ อยู่ที่ประมาณ 5,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้า-รูปแบบสินค้าที่ทำ โดยถ้าหากต้องการทำชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่และมีความละเอียดมาก ก็อาจจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์มากหน่อย โดยวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ ก็เช่น คัตเตอร์, กรรไกร, เรซิ่นเหลว, ดินญี่ปุ่น, พู่กันสำหรับระบายสี หรือเครื่องพ่นแอร์บรัช กรณีทำงานชิ้นใหญ่-งานที่มีความละเอียดมาก
ส่วน ทุนวัตถุดิบจะอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคาขาย
“เครื่องมือที่ใช้ทำ อาหารจำลองนี้ ก็เหมือนเครื่องมือที่ใช้ในงานปั้นหรือดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น ซึ่งถ้าหากใครที่มีทักษะงานดอกไม้ประดิษฐ์จากดินก็สามารถหัดทำได้ไม่ยาก เพราะใช้ทักษะเดียวกัน เพียงแต่อาศัยจินตนาการมากกว่า โดยอาจใช้ภาชนะสำหรับใส่อาหารจริงเพื่อเพิ่มความสมจริงของชิ้นงานได้ด้วย”
ขั้น ตอนการทำ เริ่มจากการขึ้นแบบ อาจใช้วิธีแกะแบบโดยใช้การหล่อจากอาหารหรือวัตถุดิบจริง เพื่อขึ้นรูปเป็น “โมล” หรือ “แบบพิมพ์” หรืออาจใช้วิธีปั้นขึ้นรูปจากดินญี่ปุ่น หรือแกะโฟมขึ้นรูปเพื่อเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ไว้ก่อนล่วงหน้า ก่อนจะประกอบเป็นชิ้นงานอีกที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความถนัด
เมื่อ ได้แบบพิมพ์แล้ว ก็หล่อ เรซิ่นเพื่อขึ้นรูป ส่วนประกอบสำคัญของเมนูอาหารจำลองนั้น ๆ โดยอาจทำเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ นำมาบรรจงจัดวาง ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายกับการทำอาหารจริงเช่นกัน ทำการลงสีส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ โดยเน้นที่ความสมจริง แล้วทำการเทเรซิ่นเหลวปิดทับเพื่อเชื่อมส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ติดกันเป็นเนื้อเดียว เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“งานโมเดลอาหาร จำลองนี้ โอกาสที่ไอเดียจะตันแทบไม่มี เนื่องจากรูปแบบส่วนใหญ่ลูกค้าเป็นคนคิด เรามีหน้าที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า แต่ก็อาจจะให้คำแนะนำลูกค้าบางเรื่อง เกี่ยวกับองค์ประกอบ การให้สี การจัดวาง ซึ่งจุดที่สำคัญสำหรับคนทำอาชีพนี้คือต้องซื่อสัตย์ เพราะหากใช้วัสดุไม่ดี ขี้เหนียววัสดุในการทำก็อาจมีผลต่อหน้าตาสินค้าของลูกค้า” เจ้าของธุรกิจผลิต “อาหารจำลอง” กล่าวแนะนำทิ้งท้าย
สนใจงานของ นิธินันท์ ร้านกิ๊ฟท์เก๋อยู่ที่ เจ.เจ.มอลล์ ชั้น 2 ห้อง s302 โทร. 08-4940-7995 หรือดูในเว็บไซต์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกอาชีพของคนช่างคิดช่างทำ ก๊อบปี้จากของจริงที่ถูกกฎหมาย และทำเงินงาม.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน
ก๊อบปี้-ลอก เลียนแบบ กับหลาย ๆ อย่างผิดกฎหมาย แต่กับบางอย่างก็เป็นช่องทางทำเงินที่ถูกกฎหมาย แถมทำเงินได้น่าทึ่ง อย่างเช่นงาน “โมเดลอาหารจำลอง” ที่เป็น “ช่องทางทำกิน” ที่น่าสนใจ...
“นิธิ นันท์ ธนันศิริเชษฐ์” เจ้าของร้านกิ๊ฟท์เก๋ มีอาชีพรับบริการผลิตโมเดล “อาหารจำลอง” เจ้าตัวเล่าว่า จากการที่ร้านอาหารต่าง ๆ เกิดความต้องการโมเดลอาหารจำลอง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการวางโชว์สินค้าที่เป็นของจริง ๆ ซึ่งระยะแรกจะเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากระยะหลังร้านอาหารไทยแท้ ๆ ก็ต้องการใช้ ขณะที่โมเดลนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอาหารต่างประเทศ จึงคิดกันว่าในบ้านเราก็มีคนทำที่มีฝีมืออยู่ จึงคิดว่าน่าจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นธุรกิจได้ จึงตัดสินใจลงมือทำอาชีพนี้
งาน โมเดลอาหารจำลองนี้เริ่มแพร่หลายมาจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักจากวงการโฆษณาในรูปแบบของการทำ ม็อคอัพ (Mockup) ซึ่งเริ่มนิยมในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยระยะแรกยังไม่ค่อยมีกระแสตอบรับมากนัก เนื่องจากร้านค้าและลูกค้ายังมีทัศนคติแง่ลบกับอาหารจำลองอยู่ ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเริ่มไม่ดี ลูกค้าต่างก็พยายามลดต้นทุน ซึ่งอาหารที่วางโชว์หน้าร้านก็ถือเป็นต้นทุน จึงทำให้อาหารจำลองได้รับความนิยม เรียกว่าสวนกระแสสินค้าอื่น ๆ เลยทีเดียว
“หลัง เศรษฐกิจขาลง ลูกค้าก็เพิ่มขึ้น เพราะลูกค้าต้องการตัดค่าใช้จ่ายในการใช้วัตถุดิบจริงหรืออาหารจริงมาโชว์ อีกเรื่องคืออายุการใช้งาน อาหารจริงที่นำมาวางโชว์จะมีระยะเวลาใช้งานไม่นาน ขณะที่อาหารจำลองสามารถเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี หากลูกค้าไม่เปลี่ยนเมนูไปเสียก่อน”
รูปแบบสินค้า นิธินันท์บอกว่า หลัก ๆ ก็จะแบ่งประเภทเป็น อาหารคาว (แบ่งออกเป็น อาหารไทย อาหารต่างประเทศ) อาหารหวาน และ เครื่องดื่ม นอกจากนี้ก็ยังมีโมเดลจำลองที่เป็นวัตถุดิบของร้านอาหาร อาทิโมเดลรูป ไก่, เป็ด, หมูย่าง, หมูกรอบ, หมูแดง, ผัก และผลไม้ โดยกลุ่มลูกค้ามีทั้งร้านอาหารในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทโฆษณาที่ต้องการสินค้าจำลองสำหรับใช้ในการถ่ายทำโฆษณา
ช่อง ทางการจำหน่ายโมเดล “อาหารจำลอง” นอกจากเปิดหน้าร้านแล้ว ก็ยังมีการใช้ระบบไอที-อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยด้วย โดยมีการจัดทำเว็บไซต์ www.giftkaeshopping.com สำหรับติดต่อกับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถส่งภาพถ่ายที่ต้องการทำมาให้ทางร้านได้ด้วยวิธีนี้
เมนู อาหารจำลองแต่ละเมนู ใช้ระยะเวลาในการทำราว 10 วัน หรือขึ้นอยู่กับความยากง่าย สำหรับราคาจำหน่ายชิ้นงานสำเร็จรูป และรับสั่งทำโมเดลอาหารจำลอง นิธินันท์บอกว่า เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 7 บาท ไปจนถึงชิ้นละ 10,000 บาท ขึ้นกับขนาด ความยากง่ายของชิ้นงานเป็นสำคัญ
ทุน เบื้องต้นธุรกิจนี้ อยู่ที่ประมาณ 5,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้า-รูปแบบสินค้าที่ทำ โดยถ้าหากต้องการทำชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่และมีความละเอียดมาก ก็อาจจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์มากหน่อย โดยวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ ก็เช่น คัตเตอร์, กรรไกร, เรซิ่นเหลว, ดินญี่ปุ่น, พู่กันสำหรับระบายสี หรือเครื่องพ่นแอร์บรัช กรณีทำงานชิ้นใหญ่-งานที่มีความละเอียดมาก
ส่วน ทุนวัตถุดิบจะอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคาขาย
“เครื่องมือที่ใช้ทำ อาหารจำลองนี้ ก็เหมือนเครื่องมือที่ใช้ในงานปั้นหรือดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น ซึ่งถ้าหากใครที่มีทักษะงานดอกไม้ประดิษฐ์จากดินก็สามารถหัดทำได้ไม่ยาก เพราะใช้ทักษะเดียวกัน เพียงแต่อาศัยจินตนาการมากกว่า โดยอาจใช้ภาชนะสำหรับใส่อาหารจริงเพื่อเพิ่มความสมจริงของชิ้นงานได้ด้วย”
ขั้น ตอนการทำ เริ่มจากการขึ้นแบบ อาจใช้วิธีแกะแบบโดยใช้การหล่อจากอาหารหรือวัตถุดิบจริง เพื่อขึ้นรูปเป็น “โมล” หรือ “แบบพิมพ์” หรืออาจใช้วิธีปั้นขึ้นรูปจากดินญี่ปุ่น หรือแกะโฟมขึ้นรูปเพื่อเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ไว้ก่อนล่วงหน้า ก่อนจะประกอบเป็นชิ้นงานอีกที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความถนัด
เมื่อ ได้แบบพิมพ์แล้ว ก็หล่อ เรซิ่นเพื่อขึ้นรูป ส่วนประกอบสำคัญของเมนูอาหารจำลองนั้น ๆ โดยอาจทำเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ นำมาบรรจงจัดวาง ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายกับการทำอาหารจริงเช่นกัน ทำการลงสีส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ โดยเน้นที่ความสมจริง แล้วทำการเทเรซิ่นเหลวปิดทับเพื่อเชื่อมส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ติดกันเป็นเนื้อเดียว เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“งานโมเดลอาหาร จำลองนี้ โอกาสที่ไอเดียจะตันแทบไม่มี เนื่องจากรูปแบบส่วนใหญ่ลูกค้าเป็นคนคิด เรามีหน้าที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า แต่ก็อาจจะให้คำแนะนำลูกค้าบางเรื่อง เกี่ยวกับองค์ประกอบ การให้สี การจัดวาง ซึ่งจุดที่สำคัญสำหรับคนทำอาชีพนี้คือต้องซื่อสัตย์ เพราะหากใช้วัสดุไม่ดี ขี้เหนียววัสดุในการทำก็อาจมีผลต่อหน้าตาสินค้าของลูกค้า” เจ้าของธุรกิจผลิต “อาหารจำลอง” กล่าวแนะนำทิ้งท้าย
สนใจงานของ นิธินันท์ ร้านกิ๊ฟท์เก๋อยู่ที่ เจ.เจ.มอลล์ ชั้น 2 ห้อง s302 โทร. 08-4940-7995 หรือดูในเว็บไซต์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกอาชีพของคนช่างคิดช่างทำ ก๊อบปี้จากของจริงที่ถูกกฎหมาย และทำเงินงาม.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน
ที่มา เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น