ต้นทุนต่ำ-ขายได้ราคา สูง
“ผึ้งจิ๋ว” เป็นผึ้งพื้นเมืองของไทย ไม่มีเหล็กใน สามารถเพาะเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ ซึ่ง “น้ำผึ้ง” ของผึ้งจิ๋วกำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณภาพดี มีคุณค่าทางอาหารและมีสรรพคุณทางยาสูง และวันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็มีข้อมูลมาให้พิจารณา...
วิสิทธิ์ ธนูอาจ เกษตรกรสวนผลไม้ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นคนจันทบุรี ต.วังแซม อ.มะขาม จ.จันทบุรี วัย 47 ปี เป็นผู้หนึ่งที่เพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว โดยเขาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ทำการเกษตรอย่างหลงทางไปมากเพราะมุ่งแต่พึ่งยาฆ่าแมลงจนมีหนี้ ท่วมตัว ต้องเลิกอาชีพเกษตรกรหันไปรับจ้างเป็นพนักงานขับรถ แต่แล้วก็เคราะห์ซ้ำเมื่อเกิดตาบอดไปข้างหนึ่งเพราะตัดหญ้าแล้วเศษไม้ กระเด็นเข้าตา จนต้องเลิกอาชีพขับรถ ไปเป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งรายได้ก็ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัวที่มีลูก 2 คน จนวันหนึ่งวันฟ้าใสก็บังเกิด เมื่อได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ รุ่นที่ 1 ได้พบกับ รศ.ดร.สำนึก บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งได้สอนวิชาเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” ผลิต “น้ำผึ้งอินทรีย์” ที่เรียกว่า “ชันโรง” ให้
ทำให้รู้ถึงวิธีการ เลี้ยงที่ถูกต้องทุกกระบวนการ และสามารถนำมาต่อยอดให้ความรู้กับภรรยาและลูก ๆ จนยึดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จนทำให้สามารถขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำชันโรง ซึ่งเป็นผลิตผลส่วนต้นที่นำไปพัฒนาเป็นน้ำผึ้งชันโรง 100% เพื่อวางขาย ส่งขายให้อาจารย์มหาวิทยาลัย และทั่ว ๆ ไป รวมถึงการออกร้านเคลื่อนที่ในงานเทศกาล ต่าง ๆ โดยขายได้ในราคา 500 บาทต่อ 1 ขวดกลม
วิสิทธิ์บอกอีกว่า นอกจากนี้เขายังได้รับการเชิญจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ไปเป็นวิทยากรผู้ อบรมการเลี้ยงผึ้งจิ๋วแก่ต้นกล้าอาชีพรุ่นน้อง รวมถึงหน่วยราชการต่าง ๆ จนปัจจุบันนี้เขามีรายได้แบบก้าวกระโดดขึ้นมาเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 บาท ซึ่งต้องขอขอบคุณบุคคลและโครงการที่ได้ให้โอกาส
สำหรับ ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วหรือชันโรง หลัก ๆ มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการย้ายรัง และ ขั้นตอนการแยกรัง ซึ่งการย้ายรังหมายถึงการผ่ารังผึ้งจิ๋วที่ทำรังในธรรมชาติ แล้วย้ายประชากรผึ้งจิ๋วทั้งหมดลงในรังเลี้ยง ซึ่งรังดังกล่าวนี้ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย ไม่แออัด มีสุขอนามัยที่ดี และสามารถขนย้ายรังได้สะดวก สามารถจัดการดูแลช่วยเหลือผึ้งจิ๋วได้ ส่วนการแยกรังผึ้งจิ๋วหมายถึงการแบ่งประชากรผึ้งจิ๋วในรังเลี้ยงจาก 1 รัง เป็น 2 รัง หรือ 3 รัง ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของผึ้งจิ๋วที่จะแยก
การ เคลื่อนย้ายรังธรรมชาติ นำมาตั้งไว้ใกล้บริเวณที่จะผ่ารัง ก่อนผ่าต้องประเมินประชากรผึ้งจิ๋ว และการย้ายรังธรรมชาติจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งต้องรักษาระดับแนวดิ่งของรัง เนื่องจากไข่จะถูกวางไว้บนอาหารเหลวภายในเซลล์ บางเซลล์ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้วกินอาหารภายในเซลล์ยังไม่หมด อาจจะถูกอาหารหมกตายขณะขนย้าย เพราะเซลล์จะเอียงไป-มา ตรงจุดนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ
ในส่วนของรังเลี้ยงผึ้งจิ๋ว ขนาดต้องมีความจุประมาณ 7 ลิตร ทำด้วยไม้กระดาน หรือเศษไม้แปร หรือไม้นิ้วก็ได้ ต่อกันให้สนิท แต่ไม่ต้องใช้เทคนิคบังใบ ความกว้างประมาณ 20 ซม. ยาว 30 ซม. สูง 12 ซม. ด้านบนหรือฝารังเป็นแผ่นกระจกหรือพลาสติกใส เปิด-ปิดได้ ด้านหน้ารังเจาะรูเหนือพื้นขึ้นมาเล็กน้อยกันน้ำไหลเข้ารัง หน้ารังมีพื้นชานชาลาเล็กน้อยสำหรับให้อาหาร ให้ผึ้งจิ๋วพัก และเพื่อความสะดวกในการบินเข้า-ออก
ก่อนผ่ารัง ยกรังจากตำแหน่งเดิม ให้รักษาระดับ เอารังเลี้ยงที่เตรียมไว้ตั้งแทนที่รังเดิม เตรียมขวดเหล้าเพื่อนำไปดักที่รูเข้า-ออก ให้ผึ้งบินเข้าไปอยู่ในขวดด้วยการเคาะรัง พอกระเทือนผึ้งจิ๋วที่บินได้จะบินเข้าไปอยู่ในขวด ปิดปากขวดนำไปเก็บไว้ในที่เย็น ๆ ไม่ร้อน จากนั้นลงมือผ่ารัง ซึ่งต้องระวังอย่าให้กลุ่มไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ เสียหายมากนัก เมื่อรังถูกเปิดออก นำของเหลวไปป้ายที่หน้ารังเพื่อดึงดูดให้ผึ้งที่บินหลงเหลืออยู่กลับเข้ารัง เดิม
จากนั้นค่อย ๆ ย้ายกลุ่มไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ใส่ในรังเลี้ยง สำหรับถ้วยอาหาร เช่น เกสรและน้ำผึ้ง ที่ไม่แตก ก็ให้นำไปใส่ในรังเลี้ยงด้วย แต่อย่านำน้ำผึ้งจากถ้วยที่แตกใส่ในรัง เพราะจะทำให้ผึ้งงานติดน้ำผึ้งตาย แล้วต้องพยายามหานางพญาแม่รัง เมื่อพบให้ใช้ช้อนตักเอาเข้าไปไว้ในรัง แต่อย่าใช้มือจับนางพญา
ถ้า สถานที่ผ่ารังกับที่ตั้งรังเดิมอยู่คนละที่ แต่ห่างไม่เกิน 300 เมตร ต้องย้ายรังธรรมชาติไปตั้งเลี้ยงไว้ที่อื่นห่างจากที่ตั้งรังเดิมเกิน 600 เมตร ประมาณ 2 สัปดาห์จึงย้ายกลับมาตั้งในบริเวณที่จะผ่ารัง ให้คุ้นเคยสถานที่ 2-3 วันก่อนจะผ่ารัง ปิดฝารังและหน้ารังทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงนำรังเลี้ยงไปตั้งไว้ในที่ที่ให้ผึ้งหากินได้ตามปกติ
สำหรับต้น ทุนในการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว วิสิทธิ์บอกว่า แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย เพียงแค่มีเศษไม้เก่า ๆ มาทำเป็นรัง และหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาไว้ในรังเลี้ยง ซึ่งตามต่างจังหวัดผึ้งจิ๋วจะมีอยู่ทั่วไปตามแหล่งที่มีดอกไม้ โพรงไม้ ขอนไม้ กระบอกไม้ไผ่ โพรงตามบ้านเรือน หรืออาจจะอยู่ตามท่อพีวีซี กล่องกระดาษ ฯลฯ
การเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” อาจจะไม่ง่ายสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตาม ถ้าใครที่มีปัญหาเรื่องอาชีพแล้วสนใจอาชีพเลี้ยงผึ้งจิ๋วนี้ ทางโครงการต้นกล้าอาชีพเขามีการอบรมให้ โดยติดต่อได้จนถึง 17 ส.ค. 2552 และอบรมเดือน ก.ย. สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่คอลเซ็นเตอร์ โทร.1111 หรือที่คุณวิสิทธิ์ โทร. 08-9097-0137.
เชาวลี ชุมขำ ข้อมูลจาก เดลินิวส์
“ผึ้งจิ๋ว” เป็นผึ้งพื้นเมืองของไทย ไม่มีเหล็กใน สามารถเพาะเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ ซึ่ง “น้ำผึ้ง” ของผึ้งจิ๋วกำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณภาพดี มีคุณค่าทางอาหารและมีสรรพคุณทางยาสูง และวันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็มีข้อมูลมาให้พิจารณา...
วิสิทธิ์ ธนูอาจ เกษตรกรสวนผลไม้ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นคนจันทบุรี ต.วังแซม อ.มะขาม จ.จันทบุรี วัย 47 ปี เป็นผู้หนึ่งที่เพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว โดยเขาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ทำการเกษตรอย่างหลงทางไปมากเพราะมุ่งแต่พึ่งยาฆ่าแมลงจนมีหนี้ ท่วมตัว ต้องเลิกอาชีพเกษตรกรหันไปรับจ้างเป็นพนักงานขับรถ แต่แล้วก็เคราะห์ซ้ำเมื่อเกิดตาบอดไปข้างหนึ่งเพราะตัดหญ้าแล้วเศษไม้ กระเด็นเข้าตา จนต้องเลิกอาชีพขับรถ ไปเป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งรายได้ก็ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัวที่มีลูก 2 คน จนวันหนึ่งวันฟ้าใสก็บังเกิด เมื่อได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ รุ่นที่ 1 ได้พบกับ รศ.ดร.สำนึก บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งได้สอนวิชาเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” ผลิต “น้ำผึ้งอินทรีย์” ที่เรียกว่า “ชันโรง” ให้
ทำให้รู้ถึงวิธีการ เลี้ยงที่ถูกต้องทุกกระบวนการ และสามารถนำมาต่อยอดให้ความรู้กับภรรยาและลูก ๆ จนยึดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จนทำให้สามารถขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำชันโรง ซึ่งเป็นผลิตผลส่วนต้นที่นำไปพัฒนาเป็นน้ำผึ้งชันโรง 100% เพื่อวางขาย ส่งขายให้อาจารย์มหาวิทยาลัย และทั่ว ๆ ไป รวมถึงการออกร้านเคลื่อนที่ในงานเทศกาล ต่าง ๆ โดยขายได้ในราคา 500 บาทต่อ 1 ขวดกลม
วิสิทธิ์บอกอีกว่า นอกจากนี้เขายังได้รับการเชิญจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ไปเป็นวิทยากรผู้ อบรมการเลี้ยงผึ้งจิ๋วแก่ต้นกล้าอาชีพรุ่นน้อง รวมถึงหน่วยราชการต่าง ๆ จนปัจจุบันนี้เขามีรายได้แบบก้าวกระโดดขึ้นมาเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 15,000-20,000 บาท ซึ่งต้องขอขอบคุณบุคคลและโครงการที่ได้ให้โอกาส
สำหรับ ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วหรือชันโรง หลัก ๆ มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการย้ายรัง และ ขั้นตอนการแยกรัง ซึ่งการย้ายรังหมายถึงการผ่ารังผึ้งจิ๋วที่ทำรังในธรรมชาติ แล้วย้ายประชากรผึ้งจิ๋วทั้งหมดลงในรังเลี้ยง ซึ่งรังดังกล่าวนี้ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย ไม่แออัด มีสุขอนามัยที่ดี และสามารถขนย้ายรังได้สะดวก สามารถจัดการดูแลช่วยเหลือผึ้งจิ๋วได้ ส่วนการแยกรังผึ้งจิ๋วหมายถึงการแบ่งประชากรผึ้งจิ๋วในรังเลี้ยงจาก 1 รัง เป็น 2 รัง หรือ 3 รัง ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของผึ้งจิ๋วที่จะแยก
การ เคลื่อนย้ายรังธรรมชาติ นำมาตั้งไว้ใกล้บริเวณที่จะผ่ารัง ก่อนผ่าต้องประเมินประชากรผึ้งจิ๋ว และการย้ายรังธรรมชาติจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งต้องรักษาระดับแนวดิ่งของรัง เนื่องจากไข่จะถูกวางไว้บนอาหารเหลวภายในเซลล์ บางเซลล์ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้วกินอาหารภายในเซลล์ยังไม่หมด อาจจะถูกอาหารหมกตายขณะขนย้าย เพราะเซลล์จะเอียงไป-มา ตรงจุดนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ
ในส่วนของรังเลี้ยงผึ้งจิ๋ว ขนาดต้องมีความจุประมาณ 7 ลิตร ทำด้วยไม้กระดาน หรือเศษไม้แปร หรือไม้นิ้วก็ได้ ต่อกันให้สนิท แต่ไม่ต้องใช้เทคนิคบังใบ ความกว้างประมาณ 20 ซม. ยาว 30 ซม. สูง 12 ซม. ด้านบนหรือฝารังเป็นแผ่นกระจกหรือพลาสติกใส เปิด-ปิดได้ ด้านหน้ารังเจาะรูเหนือพื้นขึ้นมาเล็กน้อยกันน้ำไหลเข้ารัง หน้ารังมีพื้นชานชาลาเล็กน้อยสำหรับให้อาหาร ให้ผึ้งจิ๋วพัก และเพื่อความสะดวกในการบินเข้า-ออก
ก่อนผ่ารัง ยกรังจากตำแหน่งเดิม ให้รักษาระดับ เอารังเลี้ยงที่เตรียมไว้ตั้งแทนที่รังเดิม เตรียมขวดเหล้าเพื่อนำไปดักที่รูเข้า-ออก ให้ผึ้งบินเข้าไปอยู่ในขวดด้วยการเคาะรัง พอกระเทือนผึ้งจิ๋วที่บินได้จะบินเข้าไปอยู่ในขวด ปิดปากขวดนำไปเก็บไว้ในที่เย็น ๆ ไม่ร้อน จากนั้นลงมือผ่ารัง ซึ่งต้องระวังอย่าให้กลุ่มไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ เสียหายมากนัก เมื่อรังถูกเปิดออก นำของเหลวไปป้ายที่หน้ารังเพื่อดึงดูดให้ผึ้งที่บินหลงเหลืออยู่กลับเข้ารัง เดิม
จากนั้นค่อย ๆ ย้ายกลุ่มไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ใส่ในรังเลี้ยง สำหรับถ้วยอาหาร เช่น เกสรและน้ำผึ้ง ที่ไม่แตก ก็ให้นำไปใส่ในรังเลี้ยงด้วย แต่อย่านำน้ำผึ้งจากถ้วยที่แตกใส่ในรัง เพราะจะทำให้ผึ้งงานติดน้ำผึ้งตาย แล้วต้องพยายามหานางพญาแม่รัง เมื่อพบให้ใช้ช้อนตักเอาเข้าไปไว้ในรัง แต่อย่าใช้มือจับนางพญา
ถ้า สถานที่ผ่ารังกับที่ตั้งรังเดิมอยู่คนละที่ แต่ห่างไม่เกิน 300 เมตร ต้องย้ายรังธรรมชาติไปตั้งเลี้ยงไว้ที่อื่นห่างจากที่ตั้งรังเดิมเกิน 600 เมตร ประมาณ 2 สัปดาห์จึงย้ายกลับมาตั้งในบริเวณที่จะผ่ารัง ให้คุ้นเคยสถานที่ 2-3 วันก่อนจะผ่ารัง ปิดฝารังและหน้ารังทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงนำรังเลี้ยงไปตั้งไว้ในที่ที่ให้ผึ้งหากินได้ตามปกติ
สำหรับต้น ทุนในการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว วิสิทธิ์บอกว่า แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย เพียงแค่มีเศษไม้เก่า ๆ มาทำเป็นรัง และหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาไว้ในรังเลี้ยง ซึ่งตามต่างจังหวัดผึ้งจิ๋วจะมีอยู่ทั่วไปตามแหล่งที่มีดอกไม้ โพรงไม้ ขอนไม้ กระบอกไม้ไผ่ โพรงตามบ้านเรือน หรืออาจจะอยู่ตามท่อพีวีซี กล่องกระดาษ ฯลฯ
การเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” อาจจะไม่ง่ายสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตาม ถ้าใครที่มีปัญหาเรื่องอาชีพแล้วสนใจอาชีพเลี้ยงผึ้งจิ๋วนี้ ทางโครงการต้นกล้าอาชีพเขามีการอบรมให้ โดยติดต่อได้จนถึง 17 ส.ค. 2552 และอบรมเดือน ก.ย. สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่คอลเซ็นเตอร์ โทร.1111 หรือที่คุณวิสิทธิ์ โทร. 08-9097-0137.
เชาวลี ชุมขำ ข้อมูลจาก เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น