ฝีมือดี-แบบ เด่น...ยังฉลุย !!
งานฝีมือจากวัสดุประเภทไม้ แม้ไม่ใช่งานใหม่ แต่ก็ใช่ว่าตลาดจะถึงทางตัน จุดสำคัญอยู่ที่การรู้จักหาตลาด เน้นคุณภาพ อย่างเช่น “งานไม้เพนท์สี” สารพัดไอเดีย ที่เป็นอีกตัวอย่าง “ช่องทางทำกิน” รายนี้...
“วีรพงษ์ ชาติทอง” เจ้าของงานเล่าว่า เริ่มทำอาชีพประดิษฐ์งานไม้เพนท์สีนี้มาตั้งแต่สมัยเรียน ตั้งแต่ปี 2544 รับจ้างทำพวงกุญแจ งานไม้ชิ้นเล็ก ๆ ต่อมาเริ่มผลิตงานที่ใหญ่ขึ้น ประเภทของตกแต่งบ้าน ของขวัญ ของชำร่วย ส่วนใหญ่ลูกค้ามาสั่งทำสำหรับนำไปแจก ที่เรียกว่าของพรี เมี่ยม พอเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งจึงคิดเปิดร้านรับทำและผลิตสินค้ายี่ห้อของตนเองเป็น เรื่องเป็นราว ใช้ชื่อว่า วู๊ดดี้คร้าฟ ผลิตสินค้าประเภทที่ใส่กระดาษชำระ ที่แขวนผ้าเช็ดมือและผ้าเช็ดตัว กล่องใส่ของ รวมถึงป้ายชื่อ ป้ายแขวน และกระดานดำ เป็นต้น ซึ่งสินค้าจะมีเอกลักษณ์ที่ตัวการ์ตูนรูปสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงมีจุดเด่นเรื่องของความคงทน และสีสันที่ใช้ในงาน
“ระยะแรกก็มี ปัญหาเรื่องของตลาด เพราะเรียนมาแต่ทางด้านศิลปะ จึงตัดสินใจเข้าร่วมกับทางโอทอป ข้อดีคือนอกจากเราจะได้เปิดตัวสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ก็ยังมีโอกาสได้เข้าอบรมเรื่องการบริหารงานอีกด้วย ตรงนี้ถือว่าสำคัญ เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนทำงานประดิษฐ์” เจ้าของงานกล่าว
สินค้า ที่ผลิตขึ้นเป็นงานทำมือแทบทุกชิ้น การลงสีบนชิ้นงานก็ใช้แรงงานคนเป็นสำคัญ ทำให้สินค้าแต่ละชิ้นแทบไม่ซ้ำกัน เรื่องของคุณภาพและความคงทนก็จะเน้นเป็นพิเศษ แม้ขณะนี้จะถูกสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาดบ้าง แต่ก็ยังถือว่าไม่กระทบ เพราะลูกค้าเปรียบเทียบแล้วจะเข้าใจว่าทำไมราคาถึงแพงกว่าของจีน
งาน ไม้เพนท์สีปัจจุบันมีแบบมากมาย เพราะต่อยอดไอเดียออกไปได้เรื่อย ๆ เรียกว่าไม่มีทางตัน แต่ส่วนใหญ่ที่ขายดีจะเป็นงานตุ๊กตารูปสัตว์ อาทิ ไก่ ช้าง หมี ราคาขายเริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 15 บาทจนถึง 300 บาท ขึ้นกับขนาดและรายละเอียดของชิ้นงาน โดยลูกค้าส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มของตกแต่งบ้าน ของขวัญ ของที่ระลึก ไปจนถึงกลุ่มลูกค้าประเภทบริษัท เรียกว่ามีงานให้ทำตลอดทั้งปี แต่จะขายดีมากขึ้นในช่วงเทศกาลต่าง ๆ
ทุนเบื้องต้น วีรพงษ์บอกว่า ตอนแรกใช้ไปประมาณ 50,000 บาท เป็นค่าเครื่องมือ อาทิ เลื่อยไฟฟ้าหรือเครื่องตัดไม้, ปืนยิงกาวซิลิโคน, แปรงลูกกลิ้ง, พู่กัน, เครื่องมือช่างไม้ เช่น ค้อน, ตะปู, สิ่ว เป็นต้น ที่เหลือคือไม้เอ็มดีเอฟ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อไม้อัด (ไม้ผสมกระดาษ) ข้อดีของไม้ประเภทนี้คือ น้ำหนักเบา ไม่มีเส้นในเนื้อไม้ และสีอะคริลิก, สีน้ำ, สีโปสเตอร์, โดยแหล่งซื้อวัตถุดิบหลัก ๆ คือแถวย่านบางโพ จะมีครบหมด
ขั้นตอนการ ทำ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละชิ้นงาน แต่ขั้นตอนหลัก ๆ คือเริ่มจากร่างแบบ วาดแบบชิ้นงานที่ต้องการลงบนกระดาษ หรือที่เรียกว่าการสเกตช์ภาพ เพื่อใช้แบบร่างนั้นเป็นแพตเทิร์นสำหรับตัดไม้ให้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ จากนั้นนำแบบที่ร่างไว้มาทำการทาบลงบนไม้เอ็มดีเอฟที่เตรียมไว้ ใช้เลื่อยหรือเครื่องตัดขึ้นรูปตามแบบ เมื่อได้แล้วให้นำมาทาสีพื้นด้วยสีอะคริลิก หรือสีน้ำ ด้วยแปรงลูกกลิ้ง เหตุที่เลือกใช้แปรงลูกกลิ้งเพราะเมื่อทาไปบนไม้จะเกิดพื้นผิวไม่เรียบเป็น ลอน ช่วยสร้างรายละเอียดและมิติให้ชิ้นงานน่าสนใจขึ้น สำหรับการลงสีพื้นนี้ ต้องพยายามดูภาพรวมของสีที่จะใช้ โดยพยายามคุมโทนให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เมื่อ ลงสีพื้นเสร็จ ต่อไปเป็นขั้นตอนของการลงเส้น หรือเติมจุดเด่นลงบนชิ้นงาน อาทิ หมวก ลูกตา ปาก โดยใช้สีโปสเตอร์ เพราะจะได้สีที่เด่นชัด จากนั้นนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ลงสีเรียบร้อยมาผึ่งลมทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งสนิทก็นำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันด้วยปืนกาวซิลิโคน ทิ้งไว้ให้แห้ง นำมายึดติดถาวรด้วยนอตหรือตะปู จากนั้นทำการพ่นเคลือบแลกเกอร์ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ “งานไม้เพนท์สี”
“วันนี้ ตลาดงานไม้ถือว่ายังมีโอกาสโตได้อีกมาก แม้จะเกิดปัญหาการก๊อปปี้สินค้า หรือการถูกของจากจีนเข้ามาตีตลาด แต่ตลาดตรงนี้ก็ยังไปได้ สำคัญคือคนทำต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย งานที่ผลิตต้องมีคุณภาพ และต้องพัฒนาแบบสินค้าใหม่ ๆ ตลอดเวลา ห้ามหยุดนิ่ง เพราะตลาดงานไม้ เน้นแข่งขันกันที่แบบและคุณภาพของชิ้นงานเป็นสำคัญ” เจ้าของงานไม้เพนท์สีรายนี้ระบุ ซึ่งใครสนใจอาชีพด้านนี้อยู่ก็ลองพิจารณากันดู
ส่วนใครสนใจติดต่อกับ วีรพงษ์ ก็ติดต่อได้ที่เลขที่ 62/13-14 หมู่ 8 ถนนกรุงเทพ-นนท์ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. 0-2526-5217 e-mail: woodycrabts@hotmail.com
ศิริ โรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน/จเร รัตนราตรี : ภาพ เครดิตจาก เดลินิวส์
งานฝีมือจากวัสดุประเภทไม้ แม้ไม่ใช่งานใหม่ แต่ก็ใช่ว่าตลาดจะถึงทางตัน จุดสำคัญอยู่ที่การรู้จักหาตลาด เน้นคุณภาพ อย่างเช่น “งานไม้เพนท์สี” สารพัดไอเดีย ที่เป็นอีกตัวอย่าง “ช่องทางทำกิน” รายนี้...
“วีรพงษ์ ชาติทอง” เจ้าของงานเล่าว่า เริ่มทำอาชีพประดิษฐ์งานไม้เพนท์สีนี้มาตั้งแต่สมัยเรียน ตั้งแต่ปี 2544 รับจ้างทำพวงกุญแจ งานไม้ชิ้นเล็ก ๆ ต่อมาเริ่มผลิตงานที่ใหญ่ขึ้น ประเภทของตกแต่งบ้าน ของขวัญ ของชำร่วย ส่วนใหญ่ลูกค้ามาสั่งทำสำหรับนำไปแจก ที่เรียกว่าของพรี เมี่ยม พอเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งจึงคิดเปิดร้านรับทำและผลิตสินค้ายี่ห้อของตนเองเป็น เรื่องเป็นราว ใช้ชื่อว่า วู๊ดดี้คร้าฟ ผลิตสินค้าประเภทที่ใส่กระดาษชำระ ที่แขวนผ้าเช็ดมือและผ้าเช็ดตัว กล่องใส่ของ รวมถึงป้ายชื่อ ป้ายแขวน และกระดานดำ เป็นต้น ซึ่งสินค้าจะมีเอกลักษณ์ที่ตัวการ์ตูนรูปสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงมีจุดเด่นเรื่องของความคงทน และสีสันที่ใช้ในงาน
“ระยะแรกก็มี ปัญหาเรื่องของตลาด เพราะเรียนมาแต่ทางด้านศิลปะ จึงตัดสินใจเข้าร่วมกับทางโอทอป ข้อดีคือนอกจากเราจะได้เปิดตัวสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ก็ยังมีโอกาสได้เข้าอบรมเรื่องการบริหารงานอีกด้วย ตรงนี้ถือว่าสำคัญ เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนทำงานประดิษฐ์” เจ้าของงานกล่าว
สินค้า ที่ผลิตขึ้นเป็นงานทำมือแทบทุกชิ้น การลงสีบนชิ้นงานก็ใช้แรงงานคนเป็นสำคัญ ทำให้สินค้าแต่ละชิ้นแทบไม่ซ้ำกัน เรื่องของคุณภาพและความคงทนก็จะเน้นเป็นพิเศษ แม้ขณะนี้จะถูกสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาดบ้าง แต่ก็ยังถือว่าไม่กระทบ เพราะลูกค้าเปรียบเทียบแล้วจะเข้าใจว่าทำไมราคาถึงแพงกว่าของจีน
งาน ไม้เพนท์สีปัจจุบันมีแบบมากมาย เพราะต่อยอดไอเดียออกไปได้เรื่อย ๆ เรียกว่าไม่มีทางตัน แต่ส่วนใหญ่ที่ขายดีจะเป็นงานตุ๊กตารูปสัตว์ อาทิ ไก่ ช้าง หมี ราคาขายเริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 15 บาทจนถึง 300 บาท ขึ้นกับขนาดและรายละเอียดของชิ้นงาน โดยลูกค้าส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มของตกแต่งบ้าน ของขวัญ ของที่ระลึก ไปจนถึงกลุ่มลูกค้าประเภทบริษัท เรียกว่ามีงานให้ทำตลอดทั้งปี แต่จะขายดีมากขึ้นในช่วงเทศกาลต่าง ๆ
ทุนเบื้องต้น วีรพงษ์บอกว่า ตอนแรกใช้ไปประมาณ 50,000 บาท เป็นค่าเครื่องมือ อาทิ เลื่อยไฟฟ้าหรือเครื่องตัดไม้, ปืนยิงกาวซิลิโคน, แปรงลูกกลิ้ง, พู่กัน, เครื่องมือช่างไม้ เช่น ค้อน, ตะปู, สิ่ว เป็นต้น ที่เหลือคือไม้เอ็มดีเอฟ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อไม้อัด (ไม้ผสมกระดาษ) ข้อดีของไม้ประเภทนี้คือ น้ำหนักเบา ไม่มีเส้นในเนื้อไม้ และสีอะคริลิก, สีน้ำ, สีโปสเตอร์, โดยแหล่งซื้อวัตถุดิบหลัก ๆ คือแถวย่านบางโพ จะมีครบหมด
ขั้นตอนการ ทำ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละชิ้นงาน แต่ขั้นตอนหลัก ๆ คือเริ่มจากร่างแบบ วาดแบบชิ้นงานที่ต้องการลงบนกระดาษ หรือที่เรียกว่าการสเกตช์ภาพ เพื่อใช้แบบร่างนั้นเป็นแพตเทิร์นสำหรับตัดไม้ให้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ จากนั้นนำแบบที่ร่างไว้มาทำการทาบลงบนไม้เอ็มดีเอฟที่เตรียมไว้ ใช้เลื่อยหรือเครื่องตัดขึ้นรูปตามแบบ เมื่อได้แล้วให้นำมาทาสีพื้นด้วยสีอะคริลิก หรือสีน้ำ ด้วยแปรงลูกกลิ้ง เหตุที่เลือกใช้แปรงลูกกลิ้งเพราะเมื่อทาไปบนไม้จะเกิดพื้นผิวไม่เรียบเป็น ลอน ช่วยสร้างรายละเอียดและมิติให้ชิ้นงานน่าสนใจขึ้น สำหรับการลงสีพื้นนี้ ต้องพยายามดูภาพรวมของสีที่จะใช้ โดยพยายามคุมโทนให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
เมื่อ ลงสีพื้นเสร็จ ต่อไปเป็นขั้นตอนของการลงเส้น หรือเติมจุดเด่นลงบนชิ้นงาน อาทิ หมวก ลูกตา ปาก โดยใช้สีโปสเตอร์ เพราะจะได้สีที่เด่นชัด จากนั้นนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ลงสีเรียบร้อยมาผึ่งลมทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งสนิทก็นำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันด้วยปืนกาวซิลิโคน ทิ้งไว้ให้แห้ง นำมายึดติดถาวรด้วยนอตหรือตะปู จากนั้นทำการพ่นเคลือบแลกเกอร์ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ “งานไม้เพนท์สี”
“วันนี้ ตลาดงานไม้ถือว่ายังมีโอกาสโตได้อีกมาก แม้จะเกิดปัญหาการก๊อปปี้สินค้า หรือการถูกของจากจีนเข้ามาตีตลาด แต่ตลาดตรงนี้ก็ยังไปได้ สำคัญคือคนทำต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย งานที่ผลิตต้องมีคุณภาพ และต้องพัฒนาแบบสินค้าใหม่ ๆ ตลอดเวลา ห้ามหยุดนิ่ง เพราะตลาดงานไม้ เน้นแข่งขันกันที่แบบและคุณภาพของชิ้นงานเป็นสำคัญ” เจ้าของงานไม้เพนท์สีรายนี้ระบุ ซึ่งใครสนใจอาชีพด้านนี้อยู่ก็ลองพิจารณากันดู
ส่วนใครสนใจติดต่อกับ วีรพงษ์ ก็ติดต่อได้ที่เลขที่ 62/13-14 หมู่ 8 ถนนกรุงเทพ-นนท์ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. 0-2526-5217 e-mail: woodycrabts@hotmail.com
ศิริ โรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน/จเร รัตนราตรี : ภาพ เครดิตจาก เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น