“ช่องทางทำกิน” มีการนำเสนออาชีพเกี่ยวกับอาหารแปรรูปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกับ “ฮ่อยจ๊อ” ก็เป็นอีกเมนูที่เคยนำเสนอ แต่ละเจ้าก็จะเด่นกันไปคนละสูตร แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งการดัดแปลง ล่าสุดมีคนหัวใสนำ “เนื้อปลาทู” มาปรับใช้ จนกลายเป็นเมนูชื่อแปลกหูอย่าง “จ๊อปลาทู” และเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ...
บุญ ญาพร ตันสกุล เจ้าของสูตร “จ๊อปลาทู” เล่าว่า เดิมทำธุรกิจร้านอาหาร ต่อมามีปัญหาเรื่องพื้นที่ร้าน ประกอบกับเศรษฐกิจไม่ดี จึงเลิก แต่ด้วยความที่เป็นคนรักการทำอาหาร จึงพยายามไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปรรูปจากแหล่งต่าง ๆ โดยสนใจการทำฮ่อยจ๊อเป็นพิเศษ
ด้วยความที่อยู่แถบ จ.สมุทรสงคราม ซึ่งเด่นเรื่อง “ปลาทู” และช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ปลาทูจะมีมาก แม่ค้ามักขายไม่หมด โดยเฉพาะปลาทูเล็กหรือปลาแมวที่คนไม่นิยมกินเท่าปลาทูตัวใหญ่ ทำให้ราคาตก และเหลือขายยาก จึงคิดว่าคงจะดีถ้าสามารถนำปลาทูที่ว่ามาพัฒนาเป็นเมนูอาหาร จนเกิดเมนู “จ๊อปลาทู” ขึ้น
จุดเด่นของจ๊อปลาทู นอกจากชื่อที่แปลกและแก้ปัญหาเรื่องราคาปลาทูแล้ว บุญญาพรระบุว่า อีกเรื่องคือในเนื้อปลาทูมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อปู อีกทั้งราคาก็ถูกกว่าเนื้อปู จึงใส่เนื้อปลาได้มากกว่าการทำฮ่อยจ๊อปู โดยแทบไม่ต้องใช้แป้งเลย โดยเธอเองทำจ๊อปลาทูขายมาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากใช้เวลาปรับรสชาติอยู่ระยะหนึ่ง เนื่องจากแรก ๆ ที่ทำจะมีกลิ่นคาวของปลาทูอยู่ ซึ่งลูกค้ามักจะไม่ชอบ ต่อมาก็พบว่าสามารถดับกลิ่นคาวได้โดยทำการขูดหนังปลาทูเพื่อแยกเนื้อปลาออก มา ก็จะสามารถกำจัดกลิ่นคาวที่เป็นปัญหาได้
“แรก ๆ ลูกค้าก็จะถามกันว่าจ๊ออะไร พอรู้ว่าเป็นปลาทูส่วนใหญ่ก็บอกว่าแปลกดี ยิ่งให้ทดลองทานก็พากันแปลกใจว่าทำไมไม่มีกลิ่นคาว เพราะบางคนไม่กล้าทาน สาเหตุเพราะกลัวว่าจะมีกลิ่นคาว ปลา ต่อมาในปี 2552 ก็ลองส่งเข้าประกวดโอทอป ก็ได้รับคัดเลือกเป็นโอทอประดับ 4 ดาวในปีแรกที่ส่ง”
ทุนเบื้องต้นสำหรับอาชีพนี้ บุญญาพรบอกว่าใช้ประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์ อาทิ ซึ้งนึ่ง ขนาด 17 นิ้ว, แม่พิมพ์หรือรองพิมพ์สำหรับห่อ, กะละมังสเตนเลส, เขียงขนาดใหญ่, ถุงมือ, ผ้าขาวบาง เป็นต้น ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 60% ของราคาขาย ซึ่งราคาขายก็อยู่ที่เส้นละ 30-35 บาท
ส่วนผสมทำจ๊อ ปลาทู 10 เส้น (ประมาณ 1 กิโลกรัม) ประกอบด้วย เนื้อปลาทู 1 กิโลกรัม, ต้นหอม 2 ขีด, แห้ว 2 ขีด, รากผักชี 1 ขีด, กระเทียม 2 ขีด, มันหมู 1 ขีด, ไข่ไก่ 1 ฟอง, พริกไทย, เครื่องปรุงรส และฟองเต้าหู้ และส่วนผสมของน้ำจิ้มก็มี น้ำบ๊วย, น้ำส้มสายชู, น้ำตาล, เกลือ และพริกไทย
ขั้น ตอนการทำ “จ๊อปลาทู”...เริ่มแรกนำปลาทูมาขูดหนังแยกออกจากเนื้อปลา จนเหลือเพียงเนื้อปลาทูสีออกชมพู จากนั้นนำเนื้อที่ได้มานวดด้วยมือจนพอเหนียวครั้งหนึ่งก่อน ต่อมาจึงนำมันหมูที่เตรียมไว้มาผสมรวมกับเนื้อปลาทู นวดต่อไปอีกครั้งจนส่วนผสมเข้ากันดี นำเครื่องปรุงรสและส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้มาเทใส่รวมกันลงไป จากนั้นก็ทำการนวดอีกครั้งเพื่อให้เนื้อปลาและส่วนผสมต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ลำดับต่อไปนำแผ่นฟองเต้าหู้มาตัดเตรียมไว้ จากนั้นนำผ้าขาวบางชุบน้ำสะอาดบิดพอหมาด ๆ มาห่อแผ่นฟองเต้าหู้ให้พอนิ่ม นำแผ่นฟองเต้าหู้มาวางบนแม่พิมพ์ห่อหรือรองพิมพ์สำหรับห่อ (เจ้าของสูตรคิดประดิษฐ์รองพิมพ์ขึ้นเอง) นำเนื้อปลาทูที่ผสมและนวดจนเหนียวแล้วมาวางเรียงลงบนรองพิมพ์ จากนั้นพับ หัวและท้าย แล้วพับส่วนขอบม้วนให้แน่นไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วนำไปนึ่งโดยใช้ไฟปานกลาง สุกแล้วจึงนำมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ก่อนบรรจุจำหน่ายต่อไป โดย “จ๊อปลาทู” นี้สามารถอยู่ได้เป็นเดือนถ้านำใส่ไว้ในช่องฟรีซหรือช่องแช่แข็ง
“จ๊อ ปลาทูนี้จะใส่แห้ว ซึ่งจะหอมและกรอบมากกว่ามันแกวที่ใช้ใส่จ๊อปู ส่วนมันหมูใส่เพียงเล็กน้อยเพื่อให้เนื้อจ๊อนุ่ม ถ้าไม่ใส่เลยเนื้อจ๊อจะกระด้าง อีกอย่างคือช่วยเพิ่มรสชาติให้กับจ๊อปลาทู เพราะถ้าใช้เนื้อปลาทูเพียงอย่างเดียว จ๊อที่ได้จะมีรสเปรี้ยวเกินไป เนื่องจากรสของเนื้อปลาทูจะออกเปรี้ยว” เจ้าของสูตรกล่าว
สนใจ “จ๊อปลาทู” ต้องการชิม ต้องการรับไปจำหน่ายต่อเป็นอาชีพ ติด ต่อคุณบุญญาพรได้ที่ เลขที่ 102/7 ซอยบางจะเกร็ง 3 ต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม โทร.08-6977-8546 หรืออยากจะขอข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองสอบถามกันดูโดยตรง นี่ก็เป็นอีก “ช่องทางทำกิน” ที่พลิกแพลงได้น่าสนใจ.
บุญ ญาพร ตันสกุล เจ้าของสูตร “จ๊อปลาทู” เล่าว่า เดิมทำธุรกิจร้านอาหาร ต่อมามีปัญหาเรื่องพื้นที่ร้าน ประกอบกับเศรษฐกิจไม่ดี จึงเลิก แต่ด้วยความที่เป็นคนรักการทำอาหาร จึงพยายามไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปรรูปจากแหล่งต่าง ๆ โดยสนใจการทำฮ่อยจ๊อเป็นพิเศษ
ด้วยความที่อยู่แถบ จ.สมุทรสงคราม ซึ่งเด่นเรื่อง “ปลาทู” และช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ปลาทูจะมีมาก แม่ค้ามักขายไม่หมด โดยเฉพาะปลาทูเล็กหรือปลาแมวที่คนไม่นิยมกินเท่าปลาทูตัวใหญ่ ทำให้ราคาตก และเหลือขายยาก จึงคิดว่าคงจะดีถ้าสามารถนำปลาทูที่ว่ามาพัฒนาเป็นเมนูอาหาร จนเกิดเมนู “จ๊อปลาทู” ขึ้น
จุดเด่นของจ๊อปลาทู นอกจากชื่อที่แปลกและแก้ปัญหาเรื่องราคาปลาทูแล้ว บุญญาพรระบุว่า อีกเรื่องคือในเนื้อปลาทูมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อปู อีกทั้งราคาก็ถูกกว่าเนื้อปู จึงใส่เนื้อปลาได้มากกว่าการทำฮ่อยจ๊อปู โดยแทบไม่ต้องใช้แป้งเลย โดยเธอเองทำจ๊อปลาทูขายมาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากใช้เวลาปรับรสชาติอยู่ระยะหนึ่ง เนื่องจากแรก ๆ ที่ทำจะมีกลิ่นคาวของปลาทูอยู่ ซึ่งลูกค้ามักจะไม่ชอบ ต่อมาก็พบว่าสามารถดับกลิ่นคาวได้โดยทำการขูดหนังปลาทูเพื่อแยกเนื้อปลาออก มา ก็จะสามารถกำจัดกลิ่นคาวที่เป็นปัญหาได้
“แรก ๆ ลูกค้าก็จะถามกันว่าจ๊ออะไร พอรู้ว่าเป็นปลาทูส่วนใหญ่ก็บอกว่าแปลกดี ยิ่งให้ทดลองทานก็พากันแปลกใจว่าทำไมไม่มีกลิ่นคาว เพราะบางคนไม่กล้าทาน สาเหตุเพราะกลัวว่าจะมีกลิ่นคาว ปลา ต่อมาในปี 2552 ก็ลองส่งเข้าประกวดโอทอป ก็ได้รับคัดเลือกเป็นโอทอประดับ 4 ดาวในปีแรกที่ส่ง”
ทุนเบื้องต้นสำหรับอาชีพนี้ บุญญาพรบอกว่าใช้ประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์ อาทิ ซึ้งนึ่ง ขนาด 17 นิ้ว, แม่พิมพ์หรือรองพิมพ์สำหรับห่อ, กะละมังสเตนเลส, เขียงขนาดใหญ่, ถุงมือ, ผ้าขาวบาง เป็นต้น ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 60% ของราคาขาย ซึ่งราคาขายก็อยู่ที่เส้นละ 30-35 บาท
ส่วนผสมทำจ๊อ ปลาทู 10 เส้น (ประมาณ 1 กิโลกรัม) ประกอบด้วย เนื้อปลาทู 1 กิโลกรัม, ต้นหอม 2 ขีด, แห้ว 2 ขีด, รากผักชี 1 ขีด, กระเทียม 2 ขีด, มันหมู 1 ขีด, ไข่ไก่ 1 ฟอง, พริกไทย, เครื่องปรุงรส และฟองเต้าหู้ และส่วนผสมของน้ำจิ้มก็มี น้ำบ๊วย, น้ำส้มสายชู, น้ำตาล, เกลือ และพริกไทย
ขั้น ตอนการทำ “จ๊อปลาทู”...เริ่มแรกนำปลาทูมาขูดหนังแยกออกจากเนื้อปลา จนเหลือเพียงเนื้อปลาทูสีออกชมพู จากนั้นนำเนื้อที่ได้มานวดด้วยมือจนพอเหนียวครั้งหนึ่งก่อน ต่อมาจึงนำมันหมูที่เตรียมไว้มาผสมรวมกับเนื้อปลาทู นวดต่อไปอีกครั้งจนส่วนผสมเข้ากันดี นำเครื่องปรุงรสและส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้มาเทใส่รวมกันลงไป จากนั้นก็ทำการนวดอีกครั้งเพื่อให้เนื้อปลาและส่วนผสมต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ลำดับต่อไปนำแผ่นฟองเต้าหู้มาตัดเตรียมไว้ จากนั้นนำผ้าขาวบางชุบน้ำสะอาดบิดพอหมาด ๆ มาห่อแผ่นฟองเต้าหู้ให้พอนิ่ม นำแผ่นฟองเต้าหู้มาวางบนแม่พิมพ์ห่อหรือรองพิมพ์สำหรับห่อ (เจ้าของสูตรคิดประดิษฐ์รองพิมพ์ขึ้นเอง) นำเนื้อปลาทูที่ผสมและนวดจนเหนียวแล้วมาวางเรียงลงบนรองพิมพ์ จากนั้นพับ หัวและท้าย แล้วพับส่วนขอบม้วนให้แน่นไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วนำไปนึ่งโดยใช้ไฟปานกลาง สุกแล้วจึงนำมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ก่อนบรรจุจำหน่ายต่อไป โดย “จ๊อปลาทู” นี้สามารถอยู่ได้เป็นเดือนถ้านำใส่ไว้ในช่องฟรีซหรือช่องแช่แข็ง
“จ๊อ ปลาทูนี้จะใส่แห้ว ซึ่งจะหอมและกรอบมากกว่ามันแกวที่ใช้ใส่จ๊อปู ส่วนมันหมูใส่เพียงเล็กน้อยเพื่อให้เนื้อจ๊อนุ่ม ถ้าไม่ใส่เลยเนื้อจ๊อจะกระด้าง อีกอย่างคือช่วยเพิ่มรสชาติให้กับจ๊อปลาทู เพราะถ้าใช้เนื้อปลาทูเพียงอย่างเดียว จ๊อที่ได้จะมีรสเปรี้ยวเกินไป เนื่องจากรสของเนื้อปลาทูจะออกเปรี้ยว” เจ้าของสูตรกล่าว
สนใจ “จ๊อปลาทู” ต้องการชิม ต้องการรับไปจำหน่ายต่อเป็นอาชีพ ติด ต่อคุณบุญญาพรได้ที่ เลขที่ 102/7 ซอยบางจะเกร็ง 3 ต.บางจะเกร็ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม โทร.08-6977-8546 หรืออยากจะขอข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองสอบถามกันดูโดยตรง นี่ก็เป็นอีก “ช่องทางทำกิน” ที่พลิกแพลงได้น่าสนใจ.
ที่มา เด ลินิวส์
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น