ความสำเร็จของสินค้างานแฮนด์เมด นอกจากรูปแบบต้องโดดเด่นสะดุดตาแล้ว การสร้างตราสินค้า หรือสร้างแบรนด์ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำสินค้าได้ ลูกค้าเกิดความคุ้นเคย และสนใจซื้อสินค้า อย่างเช่นสินค้า “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอ...
“อุทิศ แก้วกาหลง” เจ้าของงานไอเดียชิ้นนี้ เล่าว่า หลังเรียนจบด้านรัฐศาสตร์ก็ไปทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศอยู่พักใหญ่ ต่อมารู้สึกว่าไม่ถนัดกับงานแบบนี้ ชอบงานอิสระ จึงตัดสินใจลาออกมาทำอาชีพค้าขายทั่วไป ก่อนจะหันมาทำโมเดลจำลองตัวการ์ตูนและหุ่นยนต์ขาย จนตอนหลังตลาดมีคู่แข่งอยู่มาก จึงคิดว่าน่าจะลองประดิษฐ์สินค้า ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองขึ้น จึงเริ่มทำพวงกุญแจตัวการ์ตูน โดยระยะแรกทดลองนำไปแจกให้กับเพื่อนฝูงและคนรู้จัก ปรากฏว่าหลายคนชอบ จึงคิดว่าน่าจะพัฒนามาเป็นสินค้าได้ จึงเริ่มทำจริงจังโดยวางจำหน่ายที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี รามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลประจำจนถึงปัจจุบัน
หลังจากทำพวงกุญแจ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นตุ๊กตาสำหรับห้อยกับโทรศัพท์มือถือ และ “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” โดยรูปแบบสินค้าจะเน้นที่ “ตัวการ์ตูนหน้าตากวน ๆ สีสันสดใส” เพราะ ตนเองชอบงานในรูปแบบนี้อยู่แล้ว ต่อมาคิดว่าในตลาดสินค้าแฮนด์เมด การลอกเลียนแบบหรือก๊อบปี้มีสูง จึงคิดว่าสินค้าก็น่าจะมี “ยี่ห้อ” เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ จึงใช้ชื่อ “แขกดอย” ซึ่งเป็นคำผวนที่เพื่อนมักชอบเรียกชื่อเล่นของตน
“นอกจาก ลูกค้าจะจำสินค้าได้ ชื่อนี้ก็ใช้เป็นชื่อที่ทำให้ลูกค้าสนิทกับเราได้มากขึ้น เพราะชื่อสินค้าไปได้ดีกับรูปแบบสินค้าของเราที่เป็นตัวการ์ตูนกวน ๆ ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากแบรนด์สองทาง” อุทิศบอก
สำหรับรูปแบบของชิ้น งานในปัจจุบันที่ทำจำหน่ายอยู่นั้น มีอยู่ 3 ชนิดคือ ที่ห้อยโทรศัพท์มือถือ พวงกุญแจ และซองโทรศัพท์มือถือ โดย ชนิดหลังลูกค้าให้การตอบรับเป็นพิเศษ เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ทั้งใส่โทรศัพท์มือถือ ทั้งใส่เศษสตางค์ รวมถึงใส่ของกระจุกกระจิก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ รูปแบบชิ้นงาน จึงเน้นสีสันฉูดฉาด ส่วนตัวการ์ตูนก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ โดยจุดเด่นอยู่ที่รอยยิ้ม
ทุน เบื้องต้นของงานประเภทนี้ อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป ส่วน ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ส่วนรายได้-ราคาขาย ต่ำสุดชิ้นละ 49 บาท ขึ้นไปจนถึงชิ้นละ 89 บาท ขึ้นกับขนาดและชนิดสินค้า
วัสดุอุปกรณ์ที่ จำเป็นต้องใช้ในการทำ ประกอบด้วย เข็มกับด้ายสีสันต่าง ๆ, กระดุมสีขนาดต่าง ๆ สำหรับใช้ตกแต่งตัวการ์ตูน, สแตรปเปิ้ล (เครื่องเย็บกระดาษ), ดินสอ, ไม้บรรทัด, คีม, ฝากระป๋อง สำหรับใช้เป็นแม่พิมพ์ร่างแบบ, หนังเทียม สีสันต่าง ๆ, ห่วงสำหรับทำพวงกุญแจและร้อยเชือก, เชือกฝ้ายสำหรับสะพาย และหนังยางมัดผม
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากร่างแบบตัวการ์ตูนที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็ง จากนั้นทำการตัดกระดาษตามแบบที่ร่างไว้เพื่อใช้เป็นแบบในการตัดหนังเทียม เพื่อขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูน นำแบบที่ได้มาทาบลงบนด้านหลังของหนังเทียม จากนั้นทำการลากเส้น และตัดขึ้นรูปตามแบบ ขั้นต่อไปให้นำส่วนประกอบที่ตัดขึ้นรูปไว้มายึดติดด้วยเครื่องยิงกระดาษ เพื่อให้ชิ้นงานไม่ขยับขณะทำการเย็บ นำผ้าขาวมารองพื้นตรงบริเวณด้านหลังของหนัง เพื่อปิดบังไม่ให้เห็นรอยเย็บ ทำการเย็บขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูนโดยใช้กระดุมหรือด้ายเย็บเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ออกแบบไว้
มีข้อแนะนำคือ ด้ายที่ใช้เย็บเป็นตัวการ์ตูนควรใช้เป็นสีเดียวกับหนังเทียมที่ขึ้นรูปเป็น ส่วนลำตัว และการตัดแผ่นหนังที่จะใช้เป็นส่วนประกอบของซองโทรศัพท์ด้านหน้าและหลังนั้น ด้านหลังต้องวัดเผื่อความยาวจากด้านหน้าประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อที่จะพับเป็นฝาปิดซอง เมื่อได้แล้วให้ทำการกรีดหนังเทียมด้วยคัตเตอร์ที่ด้านหลังของซองโทรศัพท์ เพื่อให้เป็นที่ใส่ห่วงสำหรับร้อย
จากนั้นทำการเย็บประกบแผ่น หนัง และร้อยเชือกสำหรับสะพาย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“ราย ได้ในปัจจุบัน นอกจากจะมีจากการผลิตสินค้าเพื่อวางขายที่หน้าร้านแล้ว ก็ยังมีรายได้เสริมอีกทางจากการรับผลิตงานตามแบบของลูกค้าที่สั่งทำพิเศษ เพื่อนำไปใช้เป็นของที่ระลึก ของชำร่วย ในงานแต่งงาน หรืองานอื่น ๆ อีกด้วย” เจ้าของงานกล่าว
อุทิศมีทำเลขายชิ้นงานไอเดีย รวมถึง “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” ที่บริเวณด้านหน้าห้างบิ๊กซี สาขารามคำแหง โดยขายประจำทุกวันเวลา 20.00-22.00 น. ใครสนใจก็ลองแวะเวียนไปดูกันได้ หรือหากต้องการติดต่อกับอุทิศก็ติดต่อได้ที่ โทร. 08-5159-1191 08-5159-1191 หรือที่อีเมล kake252@hotmail.com.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รางาน
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/
“อุทิศ แก้วกาหลง” เจ้าของงานไอเดียชิ้นนี้ เล่าว่า หลังเรียนจบด้านรัฐศาสตร์ก็ไปทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศอยู่พักใหญ่ ต่อมารู้สึกว่าไม่ถนัดกับงานแบบนี้ ชอบงานอิสระ จึงตัดสินใจลาออกมาทำอาชีพค้าขายทั่วไป ก่อนจะหันมาทำโมเดลจำลองตัวการ์ตูนและหุ่นยนต์ขาย จนตอนหลังตลาดมีคู่แข่งอยู่มาก จึงคิดว่าน่าจะลองประดิษฐ์สินค้า ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองขึ้น จึงเริ่มทำพวงกุญแจตัวการ์ตูน โดยระยะแรกทดลองนำไปแจกให้กับเพื่อนฝูงและคนรู้จัก ปรากฏว่าหลายคนชอบ จึงคิดว่าน่าจะพัฒนามาเป็นสินค้าได้ จึงเริ่มทำจริงจังโดยวางจำหน่ายที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี รามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลประจำจนถึงปัจจุบัน
หลังจากทำพวงกุญแจ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นตุ๊กตาสำหรับห้อยกับโทรศัพท์มือถือ และ “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” โดยรูปแบบสินค้าจะเน้นที่ “ตัวการ์ตูนหน้าตากวน ๆ สีสันสดใส” เพราะ ตนเองชอบงานในรูปแบบนี้อยู่แล้ว ต่อมาคิดว่าในตลาดสินค้าแฮนด์เมด การลอกเลียนแบบหรือก๊อบปี้มีสูง จึงคิดว่าสินค้าก็น่าจะมี “ยี่ห้อ” เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ จึงใช้ชื่อ “แขกดอย” ซึ่งเป็นคำผวนที่เพื่อนมักชอบเรียกชื่อเล่นของตน
“นอกจาก ลูกค้าจะจำสินค้าได้ ชื่อนี้ก็ใช้เป็นชื่อที่ทำให้ลูกค้าสนิทกับเราได้มากขึ้น เพราะชื่อสินค้าไปได้ดีกับรูปแบบสินค้าของเราที่เป็นตัวการ์ตูนกวน ๆ ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากแบรนด์สองทาง” อุทิศบอก
สำหรับรูปแบบของชิ้น งานในปัจจุบันที่ทำจำหน่ายอยู่นั้น มีอยู่ 3 ชนิดคือ ที่ห้อยโทรศัพท์มือถือ พวงกุญแจ และซองโทรศัพท์มือถือ โดย ชนิดหลังลูกค้าให้การตอบรับเป็นพิเศษ เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ทั้งใส่โทรศัพท์มือถือ ทั้งใส่เศษสตางค์ รวมถึงใส่ของกระจุกกระจิก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ รูปแบบชิ้นงาน จึงเน้นสีสันฉูดฉาด ส่วนตัวการ์ตูนก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ โดยจุดเด่นอยู่ที่รอยยิ้ม
ทุน เบื้องต้นของงานประเภทนี้ อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป ส่วน ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ส่วนรายได้-ราคาขาย ต่ำสุดชิ้นละ 49 บาท ขึ้นไปจนถึงชิ้นละ 89 บาท ขึ้นกับขนาดและชนิดสินค้า
วัสดุอุปกรณ์ที่ จำเป็นต้องใช้ในการทำ ประกอบด้วย เข็มกับด้ายสีสันต่าง ๆ, กระดุมสีขนาดต่าง ๆ สำหรับใช้ตกแต่งตัวการ์ตูน, สแตรปเปิ้ล (เครื่องเย็บกระดาษ), ดินสอ, ไม้บรรทัด, คีม, ฝากระป๋อง สำหรับใช้เป็นแม่พิมพ์ร่างแบบ, หนังเทียม สีสันต่าง ๆ, ห่วงสำหรับทำพวงกุญแจและร้อยเชือก, เชือกฝ้ายสำหรับสะพาย และหนังยางมัดผม
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากร่างแบบตัวการ์ตูนที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็ง จากนั้นทำการตัดกระดาษตามแบบที่ร่างไว้เพื่อใช้เป็นแบบในการตัดหนังเทียม เพื่อขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูน นำแบบที่ได้มาทาบลงบนด้านหลังของหนังเทียม จากนั้นทำการลากเส้น และตัดขึ้นรูปตามแบบ ขั้นต่อไปให้นำส่วนประกอบที่ตัดขึ้นรูปไว้มายึดติดด้วยเครื่องยิงกระดาษ เพื่อให้ชิ้นงานไม่ขยับขณะทำการเย็บ นำผ้าขาวมารองพื้นตรงบริเวณด้านหลังของหนัง เพื่อปิดบังไม่ให้เห็นรอยเย็บ ทำการเย็บขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูนโดยใช้กระดุมหรือด้ายเย็บเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ออกแบบไว้
มีข้อแนะนำคือ ด้ายที่ใช้เย็บเป็นตัวการ์ตูนควรใช้เป็นสีเดียวกับหนังเทียมที่ขึ้นรูปเป็น ส่วนลำตัว และการตัดแผ่นหนังที่จะใช้เป็นส่วนประกอบของซองโทรศัพท์ด้านหน้าและหลังนั้น ด้านหลังต้องวัดเผื่อความยาวจากด้านหน้าประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อที่จะพับเป็นฝาปิดซอง เมื่อได้แล้วให้ทำการกรีดหนังเทียมด้วยคัตเตอร์ที่ด้านหลังของซองโทรศัพท์ เพื่อให้เป็นที่ใส่ห่วงสำหรับร้อย
จากนั้นทำการเย็บประกบแผ่น หนัง และร้อยเชือกสำหรับสะพาย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“ราย ได้ในปัจจุบัน นอกจากจะมีจากการผลิตสินค้าเพื่อวางขายที่หน้าร้านแล้ว ก็ยังมีรายได้เสริมอีกทางจากการรับผลิตงานตามแบบของลูกค้าที่สั่งทำพิเศษ เพื่อนำไปใช้เป็นของที่ระลึก ของชำร่วย ในงานแต่งงาน หรืองานอื่น ๆ อีกด้วย” เจ้าของงานกล่าว
อุทิศมีทำเลขายชิ้นงานไอเดีย รวมถึง “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” ที่บริเวณด้านหน้าห้างบิ๊กซี สาขารามคำแหง โดยขายประจำทุกวันเวลา 20.00-22.00 น. ใครสนใจก็ลองแวะเวียนไปดูกันได้ หรือหากต้องการติดต่อกับอุทิศก็ติดต่อได้ที่ โทร. 08-5159-1191 08-5159-1191 หรือที่อีเมล kake252@hotmail.com.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รางาน
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น