เครื่อง ปั้นดินเผา สินค้าหัตถกรรมประเภทงานปั้น แม้หลายคนจะมองว่าตลาดสินค้าประเภทนี้ค่อนข้างเติบโตน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากรู้จักพลิกแพลง-ต่อยอด-ผสมผสาน และรู้จักสร้างเอกลักษณ์เพิ่มมูลค่าให้สินค้า อย่างเช่นงาน “โคมไฟดินหอม” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” ไปพบเจอมา...
“พรรษา สิงโตแก้ว” เจ้าของงานดังกล่าวนี้ บอกว่า “โคมไฟดินหอม” นี้เริ่มมาจากความที่เป็นคนชอบงานปั้น เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวช่างปั้น ต่อมาเมื่อมาลงหลักปักฐานที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าในพื้นที่มีดินเหนียวคุณภาพดี จึงทดลองนำมาปั้นชิ้นงาน โดยแรก ๆ ตั้งใจจะทำเพื่อเป็นงานอดิเรก ต่อมาคิดว่าน่าจะส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้มีรายได้เสริมจากอาชีพเกษตรกรรม จึงเริ่มรวมตัวก่อตั้งกลุ่มผลิตงานปั้นเล็ก ๆ ขึ้น โดยเน้นที่ชิ้นงานปั้นรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากการปั้นตุ๊กตาดินเผา ก่อนจะพัฒนาแตกชนิดสินค้าเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีหลากหลาย อาทิ โมบายสำหรับแขวน ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย บ้านดินเผาสำหรับนก เป็นต้น
สำหรับ โคมไฟดินหอม หรืออีกชื่อ “โคมไฟอารมณ์ดิน” นั้น เกิดขึ้นเพราะต้องการต่อยอดนำวัสดุ และส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วจากการปั้น คือส่วนประกอบที่ปั้นเป็นลูกปัดสำหรับทำโมบายแขวน มาผสมผสานเข้ากับงานโคมไฟ และงานตะเกียงน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชนิดใหม่ โดยอาศัยดวงไฟจากโคมไฟเป็นตัวทำให้เกิดความร้อนกับน้ำมันหอมระเหย ทั้งยังสามารถให้แสงสว่างในรูปแบบโคมไฟอีกด้วย
ถือเป็นการต่อยอดสินค้าที่เพิ่มเงินลงทุนไม่มาก
อีก จุดขายที่ใช้ “เพิ่มมูลค่า” ก็คือ “รูปแบบของงานที่ไม่ซ้ำกัน” เนื่องจากงานปั้นที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะผลิตด้วยมือทุกชิ้น ไม่มีแม่พิมพ์ ดังนั้นรูปแบบและลวดลายจึงไม่ซ้ำกัน...
“เรามองว่าเป็นการต่อยอดโดย ที่แรงงานในกลุ่มของเราไม่ต้องสร้างเนื้องานเพิ่มมาก เพราะงานปั้นลูกปัดก็ทำเพื่อผลิตเป็นโมบายอยู่แล้ว ที่จะเพิ่มเข้ามาก็คืองานส่วนโครงสร้างของโคมไฟ” เจ้าของงานกล่าวสำหรับตลาดของสินค้า พรรษาบอกว่า ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ บ้านคุ้มวิมานดิน ของเธอ เนื่องจากไม่ได้ขายผ่านคนกลาง แต่อาศัยเปิดร้านอยู่กับบ้าน และจำหน่ายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.koomwimarndin. com เท่านั้น
ทุน เบื้องต้นอาชีพนี้ เจ้าของงานบอกว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานปั้น ส่วนทุนวัตถุดิบต่อชิ้นอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย โดยราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท ไปจนถึง 4,000 บาท ซึ่งโคมไฟจะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทำโคมไฟดินหอม ประกอบด้วย เตาสำหรับเผา (สามารถใช้ได้ทั้งแบบแก๊สและไฟฟ้า), ดินเหนียว, เศษฟางและแกลบ สำหรับผสมดิน, ไม้สำเร็จรูป สำหรับทำโครงโคมไฟ, เอ็น ไนลอนหรือเชือก สำหรับร้อยลูกปัด, ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย, ชุดหลอดไฟสำเร็จรูป และเครื่องมือสำหรับตกแต่งดินเผา อาทิ เกรียง มีดแกะสลัก พู่กัน
ขั้น ตอนการทำ เริ่มจากการเตรียมดินเหนียวสำหรับปั้น โดยดินเหนียวที่ใช้จะเป็นดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อได้ดินเหนียวจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำมาผึ่งแดดเพื่อให้ดินแตกตัวเป็น ชิ้นเล็ก จากนั้นนำดินที่แตกตัวแล้วมาแช่น้ำทิ้งไว้ให้ดินตกตะกอน
เมื่อ ดินตกตะกอนแล้วให้เทน้ำทิ้ง นำส่วนผสมสำหรับผสมดินในงานปั้นใส่ลงไป อาทิ ทราย, แกลบ, ฟาง จากนั้นคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันกับเนื้อดิน ทำการนวดดินให้เป็นเนื้อเดียวกันจนได้อาการดิน หรือมีความเหนียวพอเหมาะสำหรับการปั้น แล้วก็เริ่มลงมือปั้นเป็นลูกปัดสำหรับร้อยตามรูปแบบที่ต้องการ โดยต้องเจาะรูสำหรับร้อยเชือกและเอ็นไว้ด้วยก่อนที่จะนำเข้าเตาเผา
จาก นั้นนำส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าเผาในเตาเผาที่ความร้อนไม่ต่ำกว่า 900 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการเผาประมาณ 10 ชั่วโมง จึงนำออกมาทิ้งไว้ให้ดินเผาเย็นตัวประมาณ 1 วัน
เมื่อดินเผาเย็นตัว ลงแล้วก็นำมาร้อยเข้าด้วยกันด้วยเอ็นไนลอนหรือเชือกสำหรับร้อยลูกปัด เมื่อร้อยได้จำนวนที่ต้องการแล้วจึงนำมาประกอบเข้ากับตัวโคมไฟที่ทำการติด ตั้งชุดไฟสำเร็จรูปไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อประกอบเสร็จก็ตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำโคมไฟดินหอม
“วิธีการไม่มีอะไรยุ่งยากซับ ซ้อน เรียนรู้ไม่นานก็สามารถทำได้ แต่ทุก ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เวลาและอาศัยฝีมือบวกกับความตั้งใจของคนปั้นเป็นสำคัญ ผลงานถึงจะออกมาสวยงาม” เจ้าของงานระบุ
ใครสนใจชิ้นงาน “โคมไฟดินหอม” นี้ติดต่อได้ที่ คุ้มวิมานดิน เลขที่ 121/1 หมู่ 3 ต.คลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา โทร.08-2255-9807, 08-7825-1338 08-7825-1338, 08-1866-8700 08-1866-8700 หรือที่อีเมล info@koomwimarn din.com ใครที่สนใจอยากจะเรียนรู้งานปั้นดินเผาก็ลองสอบถามกันดู.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/
“พรรษา สิงโตแก้ว” เจ้าของงานดังกล่าวนี้ บอกว่า “โคมไฟดินหอม” นี้เริ่มมาจากความที่เป็นคนชอบงานปั้น เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวช่างปั้น ต่อมาเมื่อมาลงหลักปักฐานที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าในพื้นที่มีดินเหนียวคุณภาพดี จึงทดลองนำมาปั้นชิ้นงาน โดยแรก ๆ ตั้งใจจะทำเพื่อเป็นงานอดิเรก ต่อมาคิดว่าน่าจะส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้มีรายได้เสริมจากอาชีพเกษตรกรรม จึงเริ่มรวมตัวก่อตั้งกลุ่มผลิตงานปั้นเล็ก ๆ ขึ้น โดยเน้นที่ชิ้นงานปั้นรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากการปั้นตุ๊กตาดินเผา ก่อนจะพัฒนาแตกชนิดสินค้าเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีหลากหลาย อาทิ โมบายสำหรับแขวน ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย บ้านดินเผาสำหรับนก เป็นต้น
สำหรับ โคมไฟดินหอม หรืออีกชื่อ “โคมไฟอารมณ์ดิน” นั้น เกิดขึ้นเพราะต้องการต่อยอดนำวัสดุ และส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วจากการปั้น คือส่วนประกอบที่ปั้นเป็นลูกปัดสำหรับทำโมบายแขวน มาผสมผสานเข้ากับงานโคมไฟ และงานตะเกียงน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชนิดใหม่ โดยอาศัยดวงไฟจากโคมไฟเป็นตัวทำให้เกิดความร้อนกับน้ำมันหอมระเหย ทั้งยังสามารถให้แสงสว่างในรูปแบบโคมไฟอีกด้วย
ถือเป็นการต่อยอดสินค้าที่เพิ่มเงินลงทุนไม่มาก
อีก จุดขายที่ใช้ “เพิ่มมูลค่า” ก็คือ “รูปแบบของงานที่ไม่ซ้ำกัน” เนื่องจากงานปั้นที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะผลิตด้วยมือทุกชิ้น ไม่มีแม่พิมพ์ ดังนั้นรูปแบบและลวดลายจึงไม่ซ้ำกัน...
“เรามองว่าเป็นการต่อยอดโดย ที่แรงงานในกลุ่มของเราไม่ต้องสร้างเนื้องานเพิ่มมาก เพราะงานปั้นลูกปัดก็ทำเพื่อผลิตเป็นโมบายอยู่แล้ว ที่จะเพิ่มเข้ามาก็คืองานส่วนโครงสร้างของโคมไฟ” เจ้าของงานกล่าวสำหรับตลาดของสินค้า พรรษาบอกว่า ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ บ้านคุ้มวิมานดิน ของเธอ เนื่องจากไม่ได้ขายผ่านคนกลาง แต่อาศัยเปิดร้านอยู่กับบ้าน และจำหน่ายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.koomwimarndin. com เท่านั้น
ทุน เบื้องต้นอาชีพนี้ เจ้าของงานบอกว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานปั้น ส่วนทุนวัตถุดิบต่อชิ้นอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย โดยราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท ไปจนถึง 4,000 บาท ซึ่งโคมไฟจะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทำโคมไฟดินหอม ประกอบด้วย เตาสำหรับเผา (สามารถใช้ได้ทั้งแบบแก๊สและไฟฟ้า), ดินเหนียว, เศษฟางและแกลบ สำหรับผสมดิน, ไม้สำเร็จรูป สำหรับทำโครงโคมไฟ, เอ็น ไนลอนหรือเชือก สำหรับร้อยลูกปัด, ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย, ชุดหลอดไฟสำเร็จรูป และเครื่องมือสำหรับตกแต่งดินเผา อาทิ เกรียง มีดแกะสลัก พู่กัน
ขั้น ตอนการทำ เริ่มจากการเตรียมดินเหนียวสำหรับปั้น โดยดินเหนียวที่ใช้จะเป็นดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อได้ดินเหนียวจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำมาผึ่งแดดเพื่อให้ดินแตกตัวเป็น ชิ้นเล็ก จากนั้นนำดินที่แตกตัวแล้วมาแช่น้ำทิ้งไว้ให้ดินตกตะกอน
เมื่อ ดินตกตะกอนแล้วให้เทน้ำทิ้ง นำส่วนผสมสำหรับผสมดินในงานปั้นใส่ลงไป อาทิ ทราย, แกลบ, ฟาง จากนั้นคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันกับเนื้อดิน ทำการนวดดินให้เป็นเนื้อเดียวกันจนได้อาการดิน หรือมีความเหนียวพอเหมาะสำหรับการปั้น แล้วก็เริ่มลงมือปั้นเป็นลูกปัดสำหรับร้อยตามรูปแบบที่ต้องการ โดยต้องเจาะรูสำหรับร้อยเชือกและเอ็นไว้ด้วยก่อนที่จะนำเข้าเตาเผา
จาก นั้นนำส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าเผาในเตาเผาที่ความร้อนไม่ต่ำกว่า 900 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการเผาประมาณ 10 ชั่วโมง จึงนำออกมาทิ้งไว้ให้ดินเผาเย็นตัวประมาณ 1 วัน
เมื่อดินเผาเย็นตัว ลงแล้วก็นำมาร้อยเข้าด้วยกันด้วยเอ็นไนลอนหรือเชือกสำหรับร้อยลูกปัด เมื่อร้อยได้จำนวนที่ต้องการแล้วจึงนำมาประกอบเข้ากับตัวโคมไฟที่ทำการติด ตั้งชุดไฟสำเร็จรูปไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อประกอบเสร็จก็ตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำโคมไฟดินหอม
“วิธีการไม่มีอะไรยุ่งยากซับ ซ้อน เรียนรู้ไม่นานก็สามารถทำได้ แต่ทุก ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เวลาและอาศัยฝีมือบวกกับความตั้งใจของคนปั้นเป็นสำคัญ ผลงานถึงจะออกมาสวยงาม” เจ้าของงานระบุ
ใครสนใจชิ้นงาน “โคมไฟดินหอม” นี้ติดต่อได้ที่ คุ้มวิมานดิน เลขที่ 121/1 หมู่ 3 ต.คลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา โทร.08-2255-9807, 08-7825-1338 08-7825-1338, 08-1866-8700 08-1866-8700 หรือที่อีเมล info@koomwimarn din.com ใครที่สนใจอยากจะเรียนรู้งานปั้นดินเผาก็ลองสอบถามกันดู.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/
1 ความคิดเห็น:
e supra bloga:
http://ifaysal.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น