“ใบยางพารา” ปัจจุบันมีการนำมาสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ จากวัสดุที่ไม่มีราคา แต่ถ้ามีไอเดีย รวมกับฝีมือทางการประดิษฐ์ ก็สามารถสร้างงาน-สร้างเงินได้ อย่างเช่นชิ้นงาน “ผีเสื้อจากใบยางพารา” ที่สร้างรายได้เข้ากระเป๋าได้อย่างน่าสนใจ ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมาให้ลองพิจารณากัน...
กดกดกดกด
วุฒิพร สมหมั่น เจ้าของร้าน “Wutda” ที่ตลาดนัดจตุจักร เป็นเจ้าของผลงาน “ผีเสื้อจากใบยางพารา” เล่าย้อนให้ฟังว่า...จริง ๆ แล้วจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ด้านศิลปะ หลังจากจบมาก็ได้เข้าทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชน แต่ด้วยความที่เป็นคนที่ชื่นชอบงานศิลปะ จึงมาจับงานด้านศิลปะเป็นอาชีพเสริม
แรก ๆ ที่ทำจำหน่ายจะเป็นงานสาน อุปกรณ์จับสัตว์น้ำจำพวกไซ ที่ ดัดแปลงทำเป็นของตกแต่งบ้าน ซึ่งไซจับปลามีความเชื่อว่าเป็นเครื่องรางดักจับทรัพย์ด้วย ก็เป็นงานที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าพอสมควร
สำหรับงาน “ผีเสื้อจากใบยางพารา” นั้น มีคนรู้จักมาแนะนำให้ลองทำ รวมทั้งสอนวิธีและเทคนิคในการทำ ซึ่งเห็นว่าเป็นงานที่น่าสนใจ และที่สำคัญต้องการที่จะแตกไลน์ของธุรกิจออกไปให้หลากหลายมากขึ้น จึงทดลองทำดู ก็ได้ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ก็ประสบความสำเร็จได้รูปแบบที่ลงตัว
คอนเซปต์ของผลิตภัณฑ์ผีเสื้อจาก ใบยางพาราก็คือ “เป็นการนำธรรมชาติมาทำเป็นของตกแต่งที่เป็นธรรมชาติและไม่ทำลายธรรมชาติ ผีเสื้อที่ทำออกมานั้นจะต้องมีลักษณะเหมือนจริง โดยแบบผีเสื้อนั้นจะหาดูจากในอินเทอร์เน็ต หรือโปสเตอร์ รวม ถึงไปดูจากฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อโดยตรง”
วัสดุอุปกรณ์ในการทำนั้นมีดัง นี้...ใบยางพารา, ลวด เบอร์ 20-22, แม่เหล็ก, ไม้มะขาม, กาวลาเท็กซ์, กาวร้อน, อะคริลิก, พู่กัน, กรรไกร, เคลียร์เคลือบเงา
ใบยางพารานั้น จะใช้เบอร์ 5-12 ซึ่งสามารถหาซื้อที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ส่วนแม่เหล็กนั้นควรใช้แม่เหล็กไฟฟ้า เพราะติดแน่นกว่าแม่เหล็กธรรมดา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ย่านคลองถม
ขั้นตอนการทำ...เริ่มจากการทำส่วนปีก ผีเสื้อก่อน โดยปีกผีเสื้อหนึ่งตัวจะมี 4 ชิ้นส่วน เริ่มจากเลือกแบบพันธุ์ผีเสื้อที่จะทำ จากนั้นก็วาดแบบตามรูปทรงปีกของผีเสื้อ ตัดออกมาเป็นแพต เทิร์น เมื่อได้แบบที่ต้องการก็นำใบยางพาราไปติดไว้บนแบบทั้งใบ โดยยังไม่ต้องตัดขอบให้เข้ากับแบบ ใช้กาวลาเท็กซ์ทายึดติดให้แน่น
เมื่อ กาวแห้งก็ทำการลงสี ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ฝีมือเล็กน้อยเพราะจะต้องลงสีให้เหมือนกับแบบที่เลือก เพื่อให้เหมือนจริงมากที่สุด หลังจากที่ลงสีเรียบร้อยแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ให้สีแห้ง แล้วจึงตัดใบยางพาราตามแบบ
เมื่อทำการเตรียมส่วนปีกเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นการทำตัวผีเสื้อ โดยการนำไม้มะขามมาเหลาให้ได้ความยาวพอประมาณ เหลาหัวท้ายให้มีลักษณะมน ๆ จากนั้นก็ทำการเจาะรูตรงกึ่งกลางของส่วนตัว แล้วใช้ลวดจำนวน 2 เส้น สอดผ่าน ใช้กาวร้อนหยดที่รูเพื่อยึดลวดให้ติดกับส่วนตัวให้แน่น
ขั้นตอนต่อไป ก็นำส่วนปีกที่เตรียมไว้มาวางติดบนเส้นลวดที่ติดกับส่วนตัวให้ครบทั้งปีก บน-ปีกล่างทั้ง 2 ฝั่ง โดยต้องใช้ใบยางพาราประกบติดทับด้านหลังเพื่อบังเส้นลวดไว้อีกทีด้วย จากนั้นก็ตกแต่งหนวดด้วยเกสรดอกไม้ปลอม และติดตาด้วยลูกปัด นำไปพ่นเคลือบเงาด้วยเคลียร์ สุดท้ายก็นำมาติดแม่เหล็ก เท่านี้ก็เรียบร้อย
วุฒิ พรบอกว่า “ผีเสื้อจากใบยางพาราที่ทำนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญเป็นสินค้าที่ไม่ใช่แค่นำไปเป็นแม็คเน็ตติดตู้เย็นอย่างเดียว สามารถนำไปดัดแปลงตกแต่งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใส่กรอบรูป ติดผนังบ้าน ตกแต่งตามไอเดียได้ตามต้องการ”
การทำ “ผีเสื้อจากใบยางพารา” งาน “ก๊อบปี้ธรรมชาติ” นี้ ลงทุนไม่สูง โดยวุฒิพรบอกว่า ใช้เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณไม่เกิน 5,000 บาท ก็น่าจะได้ ส่วนต้นทุนในการผลิตนั้นก็ตกอยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาขาย ซึ่งสินค้าของวุฒิพร มีทั้งหมด 4 ไซซ์ คือ S, M, L, XXL ราคาก็มีตั้งแต่ 79-190 บาท
ใครสนใจ “ผีเสื้อจากใบยางพารา” ของวุฒิพร สามารถแวะไปดูไปชมและเลือกซื้อได้ที่ร้านของเขา ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 19 ซอย 7/4 เปิดขายเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ไปไม่ถูกหรือต้องการสั่งออร์เดอร์ไปขายต่อ ก็โทรศัพท์ไปสอบถามได้ที่ โทร. 08-9116-9231.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์
ที่มา http://www.dailynews.co.th
กดกดกดกด
วุฒิพร สมหมั่น เจ้าของร้าน “Wutda” ที่ตลาดนัดจตุจักร เป็นเจ้าของผลงาน “ผีเสื้อจากใบยางพารา” เล่าย้อนให้ฟังว่า...จริง ๆ แล้วจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ด้านศิลปะ หลังจากจบมาก็ได้เข้าทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชน แต่ด้วยความที่เป็นคนที่ชื่นชอบงานศิลปะ จึงมาจับงานด้านศิลปะเป็นอาชีพเสริม
แรก ๆ ที่ทำจำหน่ายจะเป็นงานสาน อุปกรณ์จับสัตว์น้ำจำพวกไซ ที่ ดัดแปลงทำเป็นของตกแต่งบ้าน ซึ่งไซจับปลามีความเชื่อว่าเป็นเครื่องรางดักจับทรัพย์ด้วย ก็เป็นงานที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าพอสมควร
สำหรับงาน “ผีเสื้อจากใบยางพารา” นั้น มีคนรู้จักมาแนะนำให้ลองทำ รวมทั้งสอนวิธีและเทคนิคในการทำ ซึ่งเห็นว่าเป็นงานที่น่าสนใจ และที่สำคัญต้องการที่จะแตกไลน์ของธุรกิจออกไปให้หลากหลายมากขึ้น จึงทดลองทำดู ก็ได้ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ก็ประสบความสำเร็จได้รูปแบบที่ลงตัว
คอนเซปต์ของผลิตภัณฑ์ผีเสื้อจาก ใบยางพาราก็คือ “เป็นการนำธรรมชาติมาทำเป็นของตกแต่งที่เป็นธรรมชาติและไม่ทำลายธรรมชาติ ผีเสื้อที่ทำออกมานั้นจะต้องมีลักษณะเหมือนจริง โดยแบบผีเสื้อนั้นจะหาดูจากในอินเทอร์เน็ต หรือโปสเตอร์ รวม ถึงไปดูจากฟาร์มเลี้ยงผีเสื้อโดยตรง”
วัสดุอุปกรณ์ในการทำนั้นมีดัง นี้...ใบยางพารา, ลวด เบอร์ 20-22, แม่เหล็ก, ไม้มะขาม, กาวลาเท็กซ์, กาวร้อน, อะคริลิก, พู่กัน, กรรไกร, เคลียร์เคลือบเงา
ใบยางพารานั้น จะใช้เบอร์ 5-12 ซึ่งสามารถหาซื้อที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ส่วนแม่เหล็กนั้นควรใช้แม่เหล็กไฟฟ้า เพราะติดแน่นกว่าแม่เหล็กธรรมดา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ย่านคลองถม
ขั้นตอนการทำ...เริ่มจากการทำส่วนปีก ผีเสื้อก่อน โดยปีกผีเสื้อหนึ่งตัวจะมี 4 ชิ้นส่วน เริ่มจากเลือกแบบพันธุ์ผีเสื้อที่จะทำ จากนั้นก็วาดแบบตามรูปทรงปีกของผีเสื้อ ตัดออกมาเป็นแพต เทิร์น เมื่อได้แบบที่ต้องการก็นำใบยางพาราไปติดไว้บนแบบทั้งใบ โดยยังไม่ต้องตัดขอบให้เข้ากับแบบ ใช้กาวลาเท็กซ์ทายึดติดให้แน่น
เมื่อ กาวแห้งก็ทำการลงสี ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ฝีมือเล็กน้อยเพราะจะต้องลงสีให้เหมือนกับแบบที่เลือก เพื่อให้เหมือนจริงมากที่สุด หลังจากที่ลงสีเรียบร้อยแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ให้สีแห้ง แล้วจึงตัดใบยางพาราตามแบบ
เมื่อทำการเตรียมส่วนปีกเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นการทำตัวผีเสื้อ โดยการนำไม้มะขามมาเหลาให้ได้ความยาวพอประมาณ เหลาหัวท้ายให้มีลักษณะมน ๆ จากนั้นก็ทำการเจาะรูตรงกึ่งกลางของส่วนตัว แล้วใช้ลวดจำนวน 2 เส้น สอดผ่าน ใช้กาวร้อนหยดที่รูเพื่อยึดลวดให้ติดกับส่วนตัวให้แน่น
ขั้นตอนต่อไป ก็นำส่วนปีกที่เตรียมไว้มาวางติดบนเส้นลวดที่ติดกับส่วนตัวให้ครบทั้งปีก บน-ปีกล่างทั้ง 2 ฝั่ง โดยต้องใช้ใบยางพาราประกบติดทับด้านหลังเพื่อบังเส้นลวดไว้อีกทีด้วย จากนั้นก็ตกแต่งหนวดด้วยเกสรดอกไม้ปลอม และติดตาด้วยลูกปัด นำไปพ่นเคลือบเงาด้วยเคลียร์ สุดท้ายก็นำมาติดแม่เหล็ก เท่านี้ก็เรียบร้อย
วุฒิ พรบอกว่า “ผีเสื้อจากใบยางพาราที่ทำนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญเป็นสินค้าที่ไม่ใช่แค่นำไปเป็นแม็คเน็ตติดตู้เย็นอย่างเดียว สามารถนำไปดัดแปลงตกแต่งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใส่กรอบรูป ติดผนังบ้าน ตกแต่งตามไอเดียได้ตามต้องการ”
การทำ “ผีเสื้อจากใบยางพารา” งาน “ก๊อบปี้ธรรมชาติ” นี้ ลงทุนไม่สูง โดยวุฒิพรบอกว่า ใช้เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณไม่เกิน 5,000 บาท ก็น่าจะได้ ส่วนต้นทุนในการผลิตนั้นก็ตกอยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาขาย ซึ่งสินค้าของวุฒิพร มีทั้งหมด 4 ไซซ์ คือ S, M, L, XXL ราคาก็มีตั้งแต่ 79-190 บาท
ใครสนใจ “ผีเสื้อจากใบยางพารา” ของวุฒิพร สามารถแวะไปดูไปชมและเลือกซื้อได้ที่ร้านของเขา ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 19 ซอย 7/4 เปิดขายเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ไปไม่ถูกหรือต้องการสั่งออร์เดอร์ไปขายต่อ ก็โทรศัพท์ไปสอบถามได้ที่ โทร. 08-9116-9231.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์
ที่มา http://www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น