ประวัติความเป็น มา
เดิมไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับให้เด็กเล่น แต่มุ่งหมายจะใช้ในพิธีฝังศพ หรือบรรจุในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ต่อมามีคนไปขุดพบจึงนำรูปปั้นกลับบ้านเพื่อมาฝากเด็ก เมื่อเด็กชอบ ผู้ใหญ่จึงทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้เล่น จึงทำให้มีตุ๊กตาเกิดขึ้น
ประโยชน์ของ ตุ๊กตา
1. ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาวิชาต่าง ๆ ได้หลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นสังคมศึกษา วรรณคดีไทย นาฏศิลป์ไทย
2. ใช้ประกอบการจัดนิทรรศการในโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเมืองไทย
3. การสะสมตุ๊กตาไว้ชม นับว่าเป็นงานอดิเรกที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
4. ให้ความรู้ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีตด้วยเช่นตุ๊กตาชาววัง
5. เป็นสื่อสำคัญในการเผยแพร่เกียรติภูมิและวัฒนธรรมไทยไปสู่ต่างแดน
6. ใช้เป็นของที่ระลึก
วัสดุอุปกรณ์
เช่น เครื่องปั้นดินเผา กระดาษ ไม้ระกำ ต้นนุ่นตายซาก กะลามะพร้าว ใบลาน เปลือกหอย ไม้แกะหรือกลึง แก้ว หญ้าปล้อง ผ้าเช็ดหน้า สำลีพันพลู เปลือกข้าวโพด เป็นต้น
ขั้น ตอนการทำตุ๊กตา
แต่ละชนิดแต่ละประเภทจะคล้ายคลึงกัน ซึ่งเจ้าของหรือศิลปินผู้ที่ปั้นตุ๊กตาจะไม่ค่อยเปิดเผยสูตรมากนัก จะบอกแต่ขั้นตอนพื้นฐานเท่านั้น..ซึ่งจะขอยกตัวอย่างสัก 2 แบบ คือ ตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่นที่ทำด้วยกระดาษ กับตุ๊กตาชาววัง
1. เริ่มด้วยการปั้นหุ่นด้วยดินเหนียว โดยเริ่มจากการปั้นขาตุ๊กตาก่อน แล้วจึงขึ้นตัว ส่วนตัวนั้นมีพิมพ์กดเอาไว้
2. เสร็จแล้วนำดินไปผึ่งให้แห้ง ต้องระวังไม่ให้ถูกแดดจัด เพราะดินจะร้าวได้
3. นำไปเผาในเตาถ่านสุมไว้ตลอดคืน เพื่อให้ตุ๊กตาเย็นสนิท
4. นำมาลงสีผิวโดยใช้ฝุ่นผัดหน้าที่เรียกว่าฝุ่นจีน มาละลายน้ำจนข้น
5. แต่งหน้า ทาปาก เขียนเสื้อผ้าโดยใช้สีตามความนิยมของชาววัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าของผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะต้องนุ่งห่มสีตัดกันตามวัน เช่น
- วันอาทิตย์ นุ่งแดงห่มเขียวหรือจะกลับกันก็ได้
- วันจันทร์ นุ่งม่วงหรือน้ำเงินห่มเหลือง วันอังคาร นุ่งชมพูห่มน้ำเงินหรือกลับกัน
- วัน พุธ นุ่งน้ำเงินห่มสไบเขียว
- วันพฤหัสบดี นุ่งน้ำเงินห่มแสดหรือกลับกัน
- วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินห่มชมพูหรือบานเย็นคล้ายวันอังคาร
- วันเสาร์ ห่มสีม่วงนุ่งสีเหล็กหรือเทาแก่
ขอขอบคุณบทความดีๆทางอาชีพ
แหล่งที่มา : http://thaidoll0.tripod.com/history.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น