วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

'โคมไฟดินหอม' งานปั้น-งานหอมๆ ทำเงิน รวยไว

เครื่อง ปั้นดินเผา สินค้าหัตถกรรมประเภทงานปั้น แม้หลายคนจะมองว่าตลาดสินค้าประเภทนี้ค่อนข้างเติบโตน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากรู้จักพลิกแพลง-ต่อยอด-ผสมผสาน และรู้จักสร้างเอกลักษณ์เพิ่มมูลค่าให้สินค้า อย่างเช่นงาน “โคมไฟดินหอม” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” ไปพบเจอมา...

“พรรษา สิงโตแก้ว” เจ้าของงานดังกล่าวนี้ บอกว่า “โคมไฟดินหอม” นี้เริ่มมาจากความที่เป็นคนชอบงานปั้น เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวช่างปั้น ต่อมาเมื่อมาลงหลักปักฐานที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าในพื้นที่มีดินเหนียวคุณภาพดี จึงทดลองนำมาปั้นชิ้นงาน โดยแรก ๆ ตั้งใจจะทำเพื่อเป็นงานอดิเรก ต่อมาคิดว่าน่าจะส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้มีรายได้เสริมจากอาชีพเกษตรกรรม จึงเริ่มรวมตัวก่อตั้งกลุ่มผลิตงานปั้นเล็ก ๆ ขึ้น โดยเน้นที่ชิ้นงานปั้นรูปแบบง่าย ๆ เริ่มจากการปั้นตุ๊กตาดินเผา ก่อนจะพัฒนาแตกชนิดสินค้าเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีหลากหลาย อาทิ โมบายสำหรับแขวน ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย บ้านดินเผาสำหรับนก เป็นต้น

สำหรับ โคมไฟดินหอม หรืออีกชื่อ “โคมไฟอารมณ์ดิน” นั้น เกิดขึ้นเพราะต้องการต่อยอดนำวัสดุ และส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วจากการปั้น คือส่วนประกอบที่ปั้นเป็นลูกปัดสำหรับทำโมบายแขวน มาผสมผสานเข้ากับงานโคมไฟ และงานตะเกียงน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าชนิดใหม่ โดยอาศัยดวงไฟจากโคมไฟเป็นตัวทำให้เกิดความร้อนกับน้ำมันหอมระเหย ทั้งยังสามารถให้แสงสว่างในรูปแบบโคมไฟอีกด้วย

ถือเป็นการต่อยอดสินค้าที่เพิ่มเงินลงทุนไม่มาก

อีก จุดขายที่ใช้ “เพิ่มมูลค่า” ก็คือ “รูปแบบของงานที่ไม่ซ้ำกัน” เนื่องจากงานปั้นที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะผลิตด้วยมือทุกชิ้น ไม่มีแม่พิมพ์ ดังนั้นรูปแบบและลวดลายจึงไม่ซ้ำกัน...

“เรามองว่าเป็นการต่อยอดโดย ที่แรงงานในกลุ่มของเราไม่ต้องสร้างเนื้องานเพิ่มมาก เพราะงานปั้นลูกปัดก็ทำเพื่อผลิตเป็นโมบายอยู่แล้ว ที่จะเพิ่มเข้ามาก็คืองานส่วนโครงสร้างของโคมไฟ” เจ้าของงานกล่าวสำหรับตลาดของสินค้า พรรษาบอกว่า ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ บ้านคุ้มวิมานดิน ของเธอ เนื่องจากไม่ได้ขายผ่านคนกลาง แต่อาศัยเปิดร้านอยู่กับบ้าน และจำหน่ายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.koomwimarndin. com เท่านั้น

ทุน เบื้องต้นอาชีพนี้ เจ้าของงานบอกว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานปั้น ส่วนทุนวัตถุดิบต่อชิ้นอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย โดยราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท ไปจนถึง 4,000 บาท ซึ่งโคมไฟจะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทำโคมไฟดินหอม ประกอบด้วย เตาสำหรับเผา (สามารถใช้ได้ทั้งแบบแก๊สและไฟฟ้า), ดินเหนียว, เศษฟางและแกลบ สำหรับผสมดิน, ไม้สำเร็จรูป สำหรับทำโครงโคมไฟ, เอ็น ไนลอนหรือเชือก สำหรับร้อยลูกปัด, ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย, ชุดหลอดไฟสำเร็จรูป และเครื่องมือสำหรับตกแต่งดินเผา อาทิ เกรียง มีดแกะสลัก พู่กัน

ขั้น ตอนการทำ เริ่มจากการเตรียมดินเหนียวสำหรับปั้น โดยดินเหนียวที่ใช้จะเป็นดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อได้ดินเหนียวจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำมาผึ่งแดดเพื่อให้ดินแตกตัวเป็น ชิ้นเล็ก จากนั้นนำดินที่แตกตัวแล้วมาแช่น้ำทิ้งไว้ให้ดินตกตะกอน

เมื่อ ดินตกตะกอนแล้วให้เทน้ำทิ้ง นำส่วนผสมสำหรับผสมดินในงานปั้นใส่ลงไป อาทิ ทราย, แกลบ, ฟาง จากนั้นคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันกับเนื้อดิน ทำการนวดดินให้เป็นเนื้อเดียวกันจนได้อาการดิน หรือมีความเหนียวพอเหมาะสำหรับการปั้น แล้วก็เริ่มลงมือปั้นเป็นลูกปัดสำหรับร้อยตามรูปแบบที่ต้องการ โดยต้องเจาะรูสำหรับร้อยเชือกและเอ็นไว้ด้วยก่อนที่จะนำเข้าเตาเผา

จาก นั้นนำส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าเผาในเตาเผาที่ความร้อนไม่ต่ำกว่า 900 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการเผาประมาณ 10 ชั่วโมง จึงนำออกมาทิ้งไว้ให้ดินเผาเย็นตัวประมาณ 1 วัน

เมื่อดินเผาเย็นตัว ลงแล้วก็นำมาร้อยเข้าด้วยกันด้วยเอ็นไนลอนหรือเชือกสำหรับร้อยลูกปัด เมื่อร้อยได้จำนวนที่ต้องการแล้วจึงนำมาประกอบเข้ากับตัวโคมไฟที่ทำการติด ตั้งชุดไฟสำเร็จรูปไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อประกอบเสร็จก็ตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำโคมไฟดินหอม

“วิธีการไม่มีอะไรยุ่งยากซับ ซ้อน เรียนรู้ไม่นานก็สามารถทำได้ แต่ทุก ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เวลาและอาศัยฝีมือบวกกับความตั้งใจของคนปั้นเป็นสำคัญ ผลงานถึงจะออกมาสวยงาม” เจ้าของงานระบุ

ใครสนใจชิ้นงาน “โคมไฟดินหอม” นี้ติดต่อได้ที่ คุ้มวิมานดิน เลขที่ 121/1 หมู่ 3 ต.คลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา โทร.08-2255-9807, 08-7825-1338 08-7825-1338, 08-1866-8700 08-1866-8700 หรือที่อีเมล info@koomwimarn din.com ใครที่สนใจอยากจะเรียนรู้งานปั้นดินเผาก็ลองสอบถามกันดู.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/

‘ซองใส่มือถือ’ ไอเดียกวน ๆ แต่ทำเงิน

ความสำเร็จของสินค้างานแฮนด์เมด นอกจากรูปแบบต้องโดดเด่นสะดุดตาแล้ว การสร้างตราสินค้า หรือสร้างแบรนด์ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำสินค้าได้ ลูกค้าเกิดความคุ้นเคย และสนใจซื้อสินค้า อย่างเช่นสินค้า “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอ...

“อุทิศ แก้วกาหลง” เจ้าของงานไอเดียชิ้นนี้ เล่าว่า หลังเรียนจบด้านรัฐศาสตร์ก็ไปทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศอยู่พักใหญ่ ต่อมารู้สึกว่าไม่ถนัดกับงานแบบนี้ ชอบงานอิสระ จึงตัดสินใจลาออกมาทำอาชีพค้าขายทั่วไป ก่อนจะหันมาทำโมเดลจำลองตัวการ์ตูนและหุ่นยนต์ขาย จนตอนหลังตลาดมีคู่แข่งอยู่มาก จึงคิดว่าน่าจะลองประดิษฐ์สินค้า ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองขึ้น จึงเริ่มทำพวงกุญแจตัวการ์ตูน โดยระยะแรกทดลองนำไปแจกให้กับเพื่อนฝูงและคนรู้จัก ปรากฏว่าหลายคนชอบ จึงคิดว่าน่าจะพัฒนามาเป็นสินค้าได้ จึงเริ่มทำจริงจังโดยวางจำหน่ายที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี รามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลประจำจนถึงปัจจุบัน

หลังจากทำพวงกุญแจ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นตุ๊กตาสำหรับห้อยกับโทรศัพท์มือถือ และ “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” โดยรูปแบบสินค้าจะเน้นที่ “ตัวการ์ตูนหน้าตากวน ๆ สีสันสดใส” เพราะ ตนเองชอบงานในรูปแบบนี้อยู่แล้ว ต่อมาคิดว่าในตลาดสินค้าแฮนด์เมด การลอกเลียนแบบหรือก๊อบปี้มีสูง จึงคิดว่าสินค้าก็น่าจะมี “ยี่ห้อ” เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ จึงใช้ชื่อ “แขกดอย” ซึ่งเป็นคำผวนที่เพื่อนมักชอบเรียกชื่อเล่นของตน

“นอกจาก ลูกค้าจะจำสินค้าได้ ชื่อนี้ก็ใช้เป็นชื่อที่ทำให้ลูกค้าสนิทกับเราได้มากขึ้น เพราะชื่อสินค้าไปได้ดีกับรูปแบบสินค้าของเราที่เป็นตัวการ์ตูนกวน ๆ ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากแบรนด์สองทาง” อุทิศบอก

สำหรับรูปแบบของชิ้น งานในปัจจุบันที่ทำจำหน่ายอยู่นั้น มีอยู่ 3 ชนิดคือ ที่ห้อยโทรศัพท์มือถือ พวงกุญแจ และซองโทรศัพท์มือถือ โดย ชนิดหลังลูกค้าให้การตอบรับเป็นพิเศษ เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ทั้งใส่โทรศัพท์มือถือ ทั้งใส่เศษสตางค์ รวมถึงใส่ของกระจุกกระจิก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ รูปแบบชิ้นงาน จึงเน้นสีสันฉูดฉาด ส่วนตัวการ์ตูนก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ โดยจุดเด่นอยู่ที่รอยยิ้ม

ทุน เบื้องต้นของงานประเภทนี้ อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป ส่วน ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ส่วนรายได้-ราคาขาย ต่ำสุดชิ้นละ 49 บาท ขึ้นไปจนถึงชิ้นละ 89 บาท ขึ้นกับขนาดและชนิดสินค้า

วัสดุอุปกรณ์ที่ จำเป็นต้องใช้ในการทำ ประกอบด้วย เข็มกับด้ายสีสันต่าง ๆ, กระดุมสีขนาดต่าง ๆ สำหรับใช้ตกแต่งตัวการ์ตูน, สแตรปเปิ้ล (เครื่องเย็บกระดาษ), ดินสอ, ไม้บรรทัด, คีม, ฝากระป๋อง สำหรับใช้เป็นแม่พิมพ์ร่างแบบ, หนังเทียม สีสันต่าง ๆ, ห่วงสำหรับทำพวงกุญแจและร้อยเชือก, เชือกฝ้ายสำหรับสะพาย และหนังยางมัดผม

ขั้นตอนการทำ เริ่มจากร่างแบบตัวการ์ตูนที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็ง จากนั้นทำการตัดกระดาษตามแบบที่ร่างไว้เพื่อใช้เป็นแบบในการตัดหนังเทียม เพื่อขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูน นำแบบที่ได้มาทาบลงบนด้านหลังของหนังเทียม จากนั้นทำการลากเส้น และตัดขึ้นรูปตามแบบ ขั้นต่อไปให้นำส่วนประกอบที่ตัดขึ้นรูปไว้มายึดติดด้วยเครื่องยิงกระดาษ เพื่อให้ชิ้นงานไม่ขยับขณะทำการเย็บ นำผ้าขาวมารองพื้นตรงบริเวณด้านหลังของหนัง เพื่อปิดบังไม่ให้เห็นรอยเย็บ ทำการเย็บขึ้นรูปเป็นตัวการ์ตูนโดยใช้กระดุมหรือด้ายเย็บเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ออกแบบไว้

มีข้อแนะนำคือ ด้ายที่ใช้เย็บเป็นตัวการ์ตูนควรใช้เป็นสีเดียวกับหนังเทียมที่ขึ้นรูปเป็น ส่วนลำตัว และการตัดแผ่นหนังที่จะใช้เป็นส่วนประกอบของซองโทรศัพท์ด้านหน้าและหลังนั้น ด้านหลังต้องวัดเผื่อความยาวจากด้านหน้าประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อที่จะพับเป็นฝาปิดซอง เมื่อได้แล้วให้ทำการกรีดหนังเทียมด้วยคัตเตอร์ที่ด้านหลังของซองโทรศัพท์ เพื่อให้เป็นที่ใส่ห่วงสำหรับร้อย

จากนั้นทำการเย็บประกบแผ่น หนัง และร้อยเชือกสำหรับสะพาย เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ

“ราย ได้ในปัจจุบัน นอกจากจะมีจากการผลิตสินค้าเพื่อวางขายที่หน้าร้านแล้ว ก็ยังมีรายได้เสริมอีกทางจากการรับผลิตงานตามแบบของลูกค้าที่สั่งทำพิเศษ เพื่อนำไปใช้เป็นของที่ระลึก ของชำร่วย ในงานแต่งงาน หรืองานอื่น ๆ อีกด้วย” เจ้าของงานกล่าว

อุทิศมีทำเลขายชิ้นงานไอเดีย รวมถึง “ซองหนังใส่โทรศัพท์มือถือ” ที่บริเวณด้านหน้าห้างบิ๊กซี สาขารามคำแหง โดยขายประจำทุกวันเวลา 20.00-22.00 น. ใครสนใจก็ลองแวะเวียนไปดูกันได้ หรือหากต้องการติดต่อกับอุทิศก็ติดต่อได้ที่ โทร. 08-5159-1191 08-5159-1191 หรือที่อีเมล kake252@hotmail.com.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รางาน

ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/

‘โรตีสไตล์พิซซ่า’


สารพัดหน้า-ขายแปลก

โรตี มีขายหลากหลาย ปรับปรุงกันไปให้ร่วมสมัยหรือให้แปลกแหวกแนว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับใครจะหาไอเดียได้เด็ดขนาดไหน อาทิ โรตีไส้แกง โรตีไส้ กะเพรา ซึ่งเป็นแบบไทย ๆ หรือจะเป็นโรตีไส้กล้วยหอมราดหน้าด้วยช็อกโก แลต หรือสตรอเบอรี่ นี่ก็มีให้เห็น ส่วนจะ ขายได้-ขายดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับทำเล ฝีมือ รวมถึงการตั้งราคา และวันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็มีโรตีอีกแบบมาให้ลองพิจารณากัน เป็น “โรตีสไตล์พิซซ่า” ที่ก็น่าสนใจ...

วิเชียร ภูรีญาณสวัสดิ์ เจ้าของร้านโรตีพิซซ่า ย่านวัดชมภูเวก สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี เปิดขายมาระยะหนึ่งแล้ว และได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อพอสมควรทีเดียว ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า ขายมาได้ 2 เดือนกว่า ซึ่งเท่ากับปีที่แล้วซึ่งก็ขายได้เพียงแค่ 2 เดือน หลังจากนั้นไปบวชอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อสึกออกมาก็มาทำขายต่อ

“มาเช่า บ้านในซอยวัดชมพูเวก ซึ่งด้านในเป็นชุมชนมีคนอยู่กันมาก แรก ๆ ก็ขายในบ้าน ซึ่งก็ขายดี เพราะมีคนมาซื้อตลอด ต่อมาก็ออกมาขายข้างนอกบ้าง ซึ่งก็เป็นทำเลซึ่งไม่ไกลจากบ้านมากนัก ซึ่งผลตอบรับก็ดีทีเดียว สำหรับการขายในระยะแรก ๆ เพราะเราเพิ่งมาใหม่ได้ไม่นาน” วิเชียรกล่าว

ก่อน จะเล่าต่อไปว่า ไปดูวิธีทำโรตีมาจากร้านที่นครปฐม และนำมาประยุกต์เป็นสูตรของตนเอง โดยได้ไปจ้างอาบังที่ขายโรตีให้มาสอนวิธีสะบัดแผ่นแป้งโรตี ซึ่งกว่าจะชำนาญก็นานพอสมควร ส่วนที่พลิกแพลงทำเป็น “โรตี พิซซ่า” นั้น เพราะคิดว่าน่าจะแปลกดี ยังไม่มีแพร่หลายทั่วไปในตลาด

อุปกรณ์ขาย โรตีนั้น เบื้องต้นลงทุนประมาณ 20,000 กว่าบาทขึ้นไป ซึ่งรวมค่ารถเข็น และอุปกรณ์จิปาถะต่าง ๆ มากมายหลายอย่าง ส่วนวัตถุดิบที่ใช้หลัก ๆ จะเป็นส่วนของแป้ง ไข่ไก่ และส่วนประกอบของหน้าโรตี อาทิ ไส้กรอก ปูอัด หมูหยอง ทูน่า ข้าวโพด ถั่วลันเตาต้ม ไข่เค็ม รวมไปถึงเครื่องโรยหน้า อย่างซอสพริก ซอสมะเขือเทศ มายองเนส ออริกาโน่ และพริกป่น ส่วนนี้ก็เป็นส่วนทุนที่จะต้องลงในแต่ละวัน

วิเชียรบอกว่า ถ้าขายโดยใช้แป้งโรตีประมาณ 100 ลูก จะใช้แป้งสาลีประมาณ 2 กก. นวดกับน้ำตาลทราย 2 ช้อนชา, เกลือ 2 ช้อนชา, นมสด 2 ช้อนโต๊ะ, ไข่ไก่ 2 ฟอง และโซดา 1 ซ้อนโต๊ะ (เพื่อให้แป้งนุ่ม) ซึ่งการนวดแป้งนั้นใช้วิธีการนวดด้วยมือให้เข้ากัน จากนั้นก็ปั้นเป็นลูก ๆ ขนาด 1 กำมือพอดี ๆ และคลุมด้วยผ้าขาวบางไว้ จะนำออกมาใช้ก็เวลาทำขายเท่านั้น ซึ่งใช้วิธีคลุมแป้งแบบนี้ก็ได้ ไม่ต้องหมักแป้งนาน ๆ ให้เสียเวลา

ส่วนหน้าโรตีพิซซ่านั้น หลัก ๆ จะมี 5 หน้า ได้แก่ โรตีพิซซ่า, โรตีพิซซ่าไข่เค็ม, โรตีซอนญ่า, โรตีพิซซ่าทูน่า, โรตีพิซซ่าหมูหยอง ราคาขายอยู่ที่ชุดละ 25-35 บาท

วิธี ทำ เริ่มที่เตรียมกระทะ ตั้งน้ำมันพอร้อน จากนั้นนำแป้งมาสะบัดเป็นแผ่น จากนั้นนำลงทอดในกระทะ เตรียมไส้ด้วยการเตรียมภาชนะถ้วย เล็ก ๆ ถ้าเป็น โรตีพิซซ่า ธรรมดา ไส้ด้านในจะเป็นไส้กรอกและไข่ไก่ตีรวมกัน, โรตีพิซซ่าไข่เค็ม จะเหมือนกับโรตีพิซซ่า แต่ต้องบี้ไข่เค็มส่วนไข่แดง ลงไปด้วย แล้วตีรวมกัน, โรตีซอนญ่า ไส้จะเป็นส่วนผสมของถั่วลันเตาต้ม-ข้าวโพดต้ม-ปูอัด ตีผสมกับไข่ไก่ สำหรับ โรตีทูน่า มีส่วนผสมของเนื้อปลาทูน่า ถั่วลันเตาต้ม-ข้าวโพดต้ม ตีผสมกับไข่ไก่ และถ้าเป็น โรตีหมูหยอง จะเป็นการทอดแผ่นโรตีกรอบขึ้นมาก่อน เสร็จแล้ว โรยหน้าด้วยหมูหยอง และแต่งหน้าอีกครั้งด้วยซอส พริกป่น และผงออริกาโน่

เมื่อทอดแผ่นโรตีแล้ว ให้ใส่ไส้ที่ตีรวมไว้แล้วลงไป พับปิดให้เรียบร้อย พลิกไปพลิกมาให้พอสุก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ประมาณ 16 ชิ้น เติมน้ำมันลงทอดโรตีให้เหลืองกรอบ เสร็จแล้วนำขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

จากนั้นนำโรตีใส่ภาชนะขาย เรียงให้ดูเรียบร้อย ปรุงรสแต่งหน้าด้วยซอสพริก ซอสมะเขือเทศ มายองเนส ผงออริกาโน่ และพริกป่นตามลำดับ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย ส่วนโรตีหมูหยองนั้นทำเหมือนกันเพียงแต่ไม่ต้องใส่ไส้ แต่มาโรยหน้าด้วยหมูหยองตอนท้ายก่อนที่เข้าขั้นตอนปรุงรสแต่งหน้า

วิเชียร บอกด้วยว่า ล่าสุดเพิ่งคิดค้น โรตีแหนม อีกสูตรหนึ่ง ซึ่งวิธีทำคล้ายกับโรตีพิซซ่า แต่เปลี่ยนจากไส้กรอกเป็นแหนมแทน และเพิ่มถั่วลันเตาและข้าวโพดลงไปด้วย ส่วนวิธีทำเหมือนกันทุกอย่าง ราคาก็ 30 บาท

ใครสนใจ “โรตีพิซซ่า” ของวิเชียร เขาขายทุกวันตั้งแต่เวลาบ่าย 3 โมงเป็นต้นไป โดยร้านอยู่ที่ปากซอยวัดชมภูเวก (ซอยนนทบุรี 33) ย่านสนามบินน้ำ นนทบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 08-5226-7124 หาร้านไม่เจอก็ลองโทรฯ ถามไถ่กันดู ซึ่งเจ้าตัวบอกมาด้วยว่า พร้อมจะสอนอาชีพนี้ให้สำหรับคนที่มีความตั้งใจจริง.

สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : รายงาน
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/

'ขนมเปี๊ยะดอกไม้' หน้าตาแปลกใหม่ น่าสน

การพลิกแพลงหน้าตาขนมนั้นเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน เพราะนอกจากเรื่องรสชาติของขนมแล้ว เรื่องหน้าตาก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยในการเรียกลูกค้า ซึ่งกับ “ขนมเปี๊ยะ” นั้น เมื่อดัดแปลงหน้าตาก็จะกลายเป็นขนมที่ร่วมสมัย น่าทานและน่าซื้อในทุกโอกาสได้ อย่างเช่นที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมาแนะนำกัน...

อาจารย์ ณนนท์ แดงสังวาล สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) ได้แนะนำการดัดแปลงขนมเปี๊ยะเดิม ๆ เป็น “ขนมเปี๊ยะดอกไม้” ที่ดูแปลกตาน่าทาน ไม่จำเจในแบบเดิม ๆ ซึ่งน่าจะสร้างตลาดใหม่ ๆ ให้เกิดได้ และน่าจะเป็นของฝากที่คนได้รับชอบ ซึ่งการทำขนมเปี๊ยะให้เป็นรูปดอกไม้นั้น อาจจะดูเหมือนยากกว่าทำขนมเปี๊ยะรูปกลม ๆ แต่จริง ๆ แล้วกลับง่ายกว่ามาก ๆ และที่สำคัญขนมจะสุกง่ายมาก เวลาอบจะสุกถึงไส้ขนมเลยทีเดียว

อุปกรณ์การทำขนมเปี๊ยะดอกไม้ ก็เหมือนกับอุปกรณ์ทำขนมทั่วไป ซึ่งหมายรวมว่าต้องมีเครื่องตีแป้ง และตู้อบขนมเพิ่มมาด้วย ต้นทุนอุปกรณ์ตกอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป

การ ทำขนมเปี๊ยะ อาจารย์ณนนท์บอกว่า จะมีการทำแป้ง 2 ส่วน และไส้ 1 ส่วน ซึ่งแป้ง 2 ส่วนนั้นคือแป้งชั้นนอกและแป้งชั้นใน โดยส่วนประกอบของแป้งชั้นนอก ตามสูตรประกอบด้วย แป้งเค้ก 500 กรัม, น้ำเย็น 250 กรัม, น้ำมันพืช 100 กรัม, เกลือป่น 5 กรัม, น้ำตาลทราย 50 กรัม, นมผง 15 กรัม, ไข่แดงไข่ไก่ (สำหรับแต่งหน้า 15 กรัม) และงาดำคั่ว (สำหรับตกแต่ง) 100 กรัม

ส่วนแป้งชั้นใน ใช้แป้งเค้ก 300 กรัม และน้ำมันพืช 150 กรัม

สำหรับ ตัวไส้ ส่วนผสม “ไส้ถั่ว” นั้น ตามสูตรจะใช้ถั่วเขียวเลาะเปลือก 500 กรัม, น้ำตาลทราย 600 กรัม, น้ำมันพืช 250 กรัม, เนยสด 50 กรัม, กลิ่นวานิลลา 2 ช้อนชา และนมผง 30 กรัม

วิธีทำ เริ่มที่แป้งชั้นนอก ร่อนแป้งเค้กและนมผงเข้าด้วยกันลงอ่างผสมที่เตรียมไว้ จากนั้นผสมน้ำตาลทราย เกลือป่น และน้ำเย็นเข้าด้วยกัน คนจนส่วนผสมละลายดี เทลงในส่วนผสมแป้ง ตีจนแป้งจับตัวเป็นก้อน (ใช้ที่ตีแป้งรูปตะขอ) จากนั้นเติมน้ำมันพืช ตีแป้งต่อจนแป้งเนียน ไม่ติดมือ จึงนำแป้งออกมาแบ่งเป็นก้อน ก้อนละ 20 กรัม คลึงแป้งเป็นก้อนกลมด้วยมือ คลุมด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ 5-10 นาที เพื่อให้แป้งคลายตัว และพองขึ้น

แป้งชั้นใน ให้ร่อนแป้งเค้กลงในอ่างผสม เติมน้ำมันพืชลงไป และตีจนส่วนผสมจับตัวเป็นก้อน เสร็จแล้วตัดแบ่งแป้งหนักก้อนละ 10 กรัม แล้วคลึงให้เป็นก้อนกลม พักไว้

จากนั้นนำแป้งชั้นนอกที่เตรียมไว้ ก่อนหน้ามาห่อแป้งชั้นใน ปิดตะเข็บให้สนิท นำแป้งมารีดตามยาว แล้วพับทบ 3 ทบ พักไว้ 5 นาที แล้วรีดตามยาวอีกครั้ง พับทบ 3 ทบ พักไว้ 5 นาที แป้งจะเป็นชั้น ๆ พักเตรียมไว้

ต่อไปเป็นการทำไส้ขนมเปี๊ยะที่เป็น ไส้ถั่ว ซึ่งต้องทำเตรียมไว้ก่อนหน้า โดยล้างถั่วเขียวเลาะเปลือกให้สะอาด แช่ในน้ำเปล่าประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นล้างให้สะอาดอีกครั้ง แล้วนึ่งถั่วจนสุก

บดถั่ว น้ำตาลทราย น้ำมันพืช กลิ่น วานิลลา และนมผง เข้าด้วยกันด้วยเครื่อง แล้วเทลงบนกระทะทองเหลือง เปิดไฟกลางกวนจนส่วนผสมข้น และสามารถ ปั้นเป็นก้อนกลมได้ แล้วเติมเนยสด กวนต่อจนส่วนผสมเข้ากันดี ยกลงพักไว้จนถั่วเย็น แบ่งถั่วเป็นก้อน ๆ หนักก้อนละ 15-20 กรัม คลึงเป็นก้อนกลม เตรียมไว้

ขั้นตอนการห่อไส้ รีดแป้งเป็นแผ่นบางประมาณ 14 เซนติเมตร ตัดแบ่งเป็น 2 ชิ้น ใส่ไส้ถั่วกวนระหว่างแป้ง 2 ชิ้น ประกอบปิดตะเข็บให้สนิท แล้วรีดอีกครั้งให้เป็นแผ่นหนาประมาณ 34 เซนติเมตร ใช้มือทำให้ตัวขนมเป็นรูปวงกลม จากนั้นใช้กรรไกรตัดแบ่งเป็น 12 ช่อง แล้วบิดหันกลีบให้สวยงาม วางลงบนเตาอบที่ทาด้วยเนยขาว ตกแต่งหน้าด้วยไข่แดง งาดำคั่ว

อบขนมที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 นาที หรือกระทั่งสุก แซะออกจากถาดวางพักบนตะแกรงจนขนมเย็นสนิท แล้วนำไปอบควันเทียนประมาณ 10 นาที จนมีกลิ่นหอม จึงบรรจุภาชนะที่ปิดสนิท

แป้ง ปริมาณดังกล่าวข้างต้นจะทำ “ขนมเปี๊ยะดอกไม้” ได้ประมาณ 80 ลูก หรือ 80 ชิ้น โดยมีต้นทุนต่อสูตรประมาณ 200 กว่าบาท ตั้งราคาขายที่ชิ้นละ 10 บาท หรือแล้วแต่ตลาด ซึ่งนอกจากไส้ถั่วแล้วยังสามารถทำเป็นไส้อื่น ๆ อาทิ ไส้งาดำ ไส้ถั่วแดง หรือจะทำหน้าตา-ตกแต่งเป็นรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้ อาทิ รูปสัตว์ต่าง ๆ ตามความสามารถ และความเป็นไปได้ เช่น รูปกระต่าย เป็นต้น

สนใจ เรื่อง “ขนมเปี๊ยะดอกไม้” ต้องการติดต่อ อาจารย์ณนนท์ ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2281-9231-4 ต่อ 2106, 08-5334-3993 08-5334-3993 ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างการพลิกแพลงรูปร่างหน้าตาของขนมเดิม ๆ ให้ “แปลกใหม่”.

สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล
ที่มาของบทความ เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/

โรตีแต้จิ๋วค้าขายร่ำรวย ร้านสมัยศิลป์ ตลาดน้ำบางน้อย


ชีวิต คนกรุงที่ต้องทำงานทุกวันจันทร์ -ศุกร์ พอถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ทีไร ก็มักที่จะอยากขอไปพักผ่อนสมองและหาความสุขใส่ตัวแบบสนุกสนาน อย่างการออกไปเที่ยวต่างจังหวัดใกล้ๆ กรุง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมากโข อย่างที่ได้ใช้เวลาช่วงวันหยุดไปเที่ยวตลาดน้ำบางน้อย ที่จ.สมุทรสงคราม มาขอบอกว่าเป็นตลาดน้ำที่มีอายุอานามเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่ถูกลืมเลือนมานานหลายสิบปี 
 


จน กระทั่งเมื่อปีที่ผ่านมา ชาวบางน้อยได้ร่วมมือร่วมใจกัน ฟื้นฟูตลาดขึ้นมาและเปิดตลาดให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการรักษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ร่วมกันรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวบางน้อยให้คงไว้ ซึ่งวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ทำมาค้าขายทั้งบนบกและทางน้ำ

คุณป้าเรณู อุทัยรัตนกิจ โชว์การทำโรตีแต้จิ๋ว

ใน ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ชาวบ้าน จะเปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวได้มาเดิน เที่ยวชมถ่ายภาพบ้านเรือนริมน้ำสวยๆ และมาเลือกซื้อหาของใช้ ของกินมากมายที่แม่ค้าพ่อค้านำมาขายกัน แล้วถ้ามาตลาดน้ำบางน้อย ก็ต้องไม่พลาดที่จะมากินของกินแสนอร่อยที่หากินยาก มากกับ”โรตีแต้จิ๋ว” ที่ร้านสมัยศิลป์

คุณป้าเรณู อุทัยรัตนกิจ เจ้าของร้านบอกเล่าให้ฟังว่า โรตีแต้จิ๋ว หรือที่เรียกว่าหลั่วก๊วย เป็นขนมที่ทำกินกันภายในครอบครัว โดยมีคุณย่า (อาม่า) คิดขึ้นเพื่อใช้สำหรับไหว้เจ้าในพิธีส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ (ก่อนวันตรุษจีน 6 วัน) และคุณป้าก็เลยนำมาทำขายเพื่อให้คนอื่นได้กินขนมอร่อยๆ แบบนี้บ้าง และเรียกชื่อขนมให้คนจำง่ายๆ ว่าโรตีแต้จิ๋ว เพราะเป็นสูตรการทำสไตล์คนจีนแต้จิ๋ว

โรตีแต้จิ๋วชวนกิน
การทำ โรตีแต้จิ๋ว ประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียวที่เอามานวดกับน้ำ แล้วปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ ก่อนที่จะเอามาตบๆ ให้เป็นแผ่นกลมๆ ไม่ใหญ่นัก แล้วก็นำลงไปทอดในกระทะให้แป้งสุก แล้วก็นำขึ้นมาห่อ ซึ่งจะใส่ถั่วลิสงที่ทางร้านอบเองแบบสดใหม่ลงไป ใส่น้ำตาลทรายแดงและงาขาวลงไป และห่อม้วนเป็นชิ้นๆ นำใส่กระทงใบตองขายในราคา 3 ชิ้น 20 บาท ชิมแล้วถูกปากตรงที่แป้งเนื้อนิ่มนุ่มเหนียว หวานหอมงาและกรุบกรอบถั่วที่อบแบบสดใหม่หอมๆ

เอาเป็นว่าถ้าใครอยาก พักผ่อนกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆกรุงเทพฯ ตลาดน้ำบางน้อยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ในบรรยากาศตลาดพื้นบ้านผสมผสานไปกับความร่วมสมัยแต่พองาม ที่ใครมาเที่ยวแล้ว หากอยากลิ้มรสของกินหายากรสชาติเป็นหนึ่ง ที่ร้านสมัยศิลป์เขามีโรตีแต้จิ๋วรสอร่อยรอคอยอยู่ 
 

บรรยากาศโต๊ะนั่งสบายๆ
“โรตี แต้จิ๋ว” ร้านสมัยศิลป์ ตั้งอยู่ในตลาดน้ำบางน้อย เลขที่ 70 หมู่ 8 ต.กระดังงา อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม การเดินทางถ้ามาจากรุงเทพฯ เพียงขับรถตรงมาตามทางที่มา จ. สมุทรสาคร แต่ไม่ต้องเข้าตัวเมืองสมุทรสาคร ให้ขับตรงต่อมาที่สมุทรสงครามเข้าทางเดียวกับตลาดน้ำอัมพวา และขับตรงเข้ามาเรื่อยๆ ประมาณ 4 กม. ก็จะถึงตลาดน้ำบางน้อย สามารถจอดรถได้ที่วัดเกาะแก้ว ร้านเปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. โทร. 0-3473-0870



ขอบคุณข้อมูลจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

‘ขายปลา ทูนึ่ง’ เงินงาม

ขาย “ปลาทูนึ่ง” เป็นอีกหนึ่งอาชีพเก่าแก่ที่จนวันนี้ก็ยังเป็น “ช่องทางทำกิน” ที่ดีของใครต่อใครมากมาย ซึ่งวันนี้ทางทีมงานคอลัมน์ช่องทางทำกินก็มีข้อมูลการทำอาชีพขายปลาทูนึ่งมา ให้ลองพิจารณากัน...

เจ๊ชุม-ประชุม อยู่ประเสริฐ และ เจ๊อี๊ด-นิภา อยู่ประเสริฐ สองพี่น้องผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการปลาทูนึ่ง ยึดอาชีพนึ่งปลาทูขายมาหลายสิบปี กับปลาทูแม่กลอง ที่มีเอกลักษณ์คือ “หน้างอ-คอหัก” รสชาติขึ้นชื่อ โดยทั้งสองร่วมกันเล่าว่า อาชีพนี้เป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัว พอพ่อแม่เสียก็รับช่วงทำอาชีพนี้

“ปลา ทูแม่กลองจะมีความสด ใหม่ และกินอร่อย เพราะเป็นปลาที่นำมาจากทะเลวันต่อวัน ไม่มีการเก็บปลาไว้ค้างคืน แม่ค้าจะไปรับซื้อปลาที่ท่าเรือ เพื่อนำมาทำปลาทูนึ่ง ช่วงเวลาที่จะไปซื้อปลามานึ่งนั้นไม่แน่นอน เรือเข้า 2 โมงเช้า ก็ไป 2 โมงเช้า เรือเข้า 4 โมงเช้า ก็ไป 4 โมงเช้า รับปลามาแล้วก็เอาไปนึ่งทันที นึ่งเสร็จประมาณไม่เกินเที่ยงก็เอามาวางขายหน้าร้านได้เลย” เป็นกิจวัตรของคนขายปลาทูนึ่งเจ้านี้

เจ๊ชุมยังบอกอีกว่า ช่วงเทศกาลกินเจปลาแม่กลองจะยิ่งอร่อย ปลาจะมีชุกชุมและกำลังโตเป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มตัว เอกลักษณ์ปลาทูแม่กลองต้องตัวเล็ก กินอร่อย เนื้อหวานกว่าปลาทูอินโดฯ ที่ตัวใหญ่กว่าแต่เนื้อจืด

สำหรับการทำอาชีพนึ่งปลาทูขายในภาพรวม นั้น อุปกรณ์ที่ใช้หลัก ๆ ก็มี... หม้อต้มปลาขนาดใหญ่ สั่งทำเฉพาะ, เต๊า หรือกระเตง (เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโครงเหล็กทรงกลม ที่ใช้เรียงเข่งปลา เพื่อนำปลาลงไปต้ม), หลัว (เข่งไม้สำหรับใส่เกลือเม็ด), เตาแก๊ส, เข่งไม้ไผ่, กะละมัง และทัพพี

ส่วนวัตถุดิบก็มี... ปลาทู, เกลือเม็ด, ใบตอง และน้ำสะอาด

หลายคนคงเข้าใจว่าที่เรียกว่า “ปลาทูนึ่ง” เพราะนำปลาไปนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วปลาทูนึ่งไม่ใช่การนำปลาทูไปนึ่ง แต่จะนำปลาไปต้ม ที่เรียกว่าปลานึ่งนั้นเพราะเป็นคำที่คนโบราณเรียกกัน และเรียกต่อ ๆ กันมา

การ นึ่งหรือต้มปลาทู เจ๊ชุมได้ลงมือทำให้ดู โดยเริ่มจากนำปลาทูมาควักไส้ออก โดยการอ้าปากปลาทู แล้วดึงเหงือกปลาทูออกมา ไส้ทั้งหมดก็จะออกมาด้วย (ไส้ปลาทูก็ไม่ต้องทิ้ง เพราะจะมีคนมารับซื้อถึงที่บ้าน เพื่อนำไปหมักเป็นไตปลา และเอาไปเป็นเหยื่อปลา)

ควักไส้แล้วก็นำปลา ทูไปล้างน้ำให้สะอาด ก่อนจะจับปลาทูหักคอให้งอลง เพื่อที่ปลาจะได้อยู่ในเข่งอย่างสวยงาม ซึ่งจุดนี้ทำให้ปลาทูแม่กลองดูแตกต่างจากที่อื่น หลังจากเรียงปลาลงเข่งเรียบร้อยแล้ว ก็นำเข่งปลาทูมาเรียงลงเต๊า (1 เต๊าจะใส่เข่งปลาทูได้ประมาณ 70-80 เข่ง )

ถ้าใช้หม้อต้มขนาด 200 ลิตร จะต้องใส่น้ำลงไปประมาณ 3/4 ของหม้อ แล้วตักเกลือเม็ด 5 ขันใส่ลงไปต้ม พอน้ำเดือดใช้ทัพพีช้อนฟองออกให้สะอาด จากนั้นก็ยกเต๊าปลาทูลงต้มในหม้อ ประมาณ 5-6 นาที ก่อนจะยกเต๊าปลาลงให้ตักน้ำเกลือราดลงบนเข่งอีกครั้ง เพื่อให้ความชุ่มของเนื้อปลายังคงอยู่ ยกเต๊าลงวางให้สะเด็ดน้ำสักพัก และก่อนนำปลาทูเป็นเข่ง ๆ ออกไปขายก็ใช้ใบตองปิดหน้าปลาทูแต่ละชั้น ไม่ให้ปลาติดกัน

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำปลาทูนึ่ง ซึ่งเจ๊ชุมบอกว่า ปลาทูที่นึ่งใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน และจะน่าทานยิ่งขึ้นถ้าปลาตัวอวบอ้วน เนื้อนุ่มแน่น ไม่ยุ่ย ท้องและผิวไม่ถลอก

เรื่องรายได้ ถ้าใช้ปลาทูสดประมาณ 100 กก. พอขายหมดเพื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะเหลือเป็นค่าเหนื่อยประมาณ 200-300 บาท หรือถ้ามากหน่อยก็ประมาณ 400-500 บาท แล้วแต่ราคาปลาสดแต่ละช่วง

ขณะ ที่ราคาขายให้ลูกค้า ขึ้นอยู่กับไซซ์หรือขนาดของปลา ถ้าเข่งหนึ่งมี 2 ตัว ขายราคา 3 เข่ง 100 บาท ไซซ์รองลงมาก็ 4 เข่ง 100 บาท และไซซ์เล็ก 5-6 เข่ง 100 บาท

อาชีพขายปลาทูนึ่งเจ้านี้อยู่ที่ตลาดแม่กลอง เป็นปลาทูนึ่งเรือโป๊ะ สด ๆ ของอ่าวแม่กลอง ร้านอยู่หน้าร้านโอ้วแซเซ้ง ตรงข้ามวินมอเตอร์ไซค์ 5 พลัง เดินตรงไปอีกนิดก็จะเจอร้านปลาทูนึ่ง “เจ๊ชุม” จะอยู่ติดกับร้านกุยช่ายทอดและร้านของดองเจ๊หมวย ทั้งสองร้านเป็นเจ้าเดียวกันเพียงแต่แยกกันขาย ใครสนใจติดต่อเจ๊ชุม โทร. 08-1995-6163 ส่วนเจ๊อี๊ด โทร. 08-7919–3071 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

ขาย “ปลาทูนึ่ง” เป็นอาชีพเฉพาะถิ่นก็จริงอยู่ แต่หากใครสนใจ ไม่ได้อยู่ไกลจากแหล่งปลาสดมากจนเกินไป ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถทำขายได้ และนี่ก็เป็นอีก “ช่องทางทำกิน” ที่ไม่อาจมองข้าม.

ที่มา เด ลินิวส์
เชาวลี ชุมขำ

‘ยำทรง เครื่อง’ ‘เกสรบัวหลวง’

อาชีพค้าขายอาหารในยุค นี้จะอยู่รอดได้ดีก็ต้องหาอะไรที่แตกต่างไปจากการค้าขายในท้องตลาดทั่วไป นอกเหนือไปจากฝีมือการปรุงที่เอร็ดอร่อย และอาชีพขาย “ยำทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน” เจ้านี้ ก็เป็นอีก “ช่องทางทำกิน” ที่พลิกแพลงนำองค์ประกอบแปลก ๆ มายำขาย สร้างอาชีพ-สร้างรายได้อย่างดี...

แสง เดือน สิริอัจฉราพันธุ์ หรือ น้อย แม่ค้าขาย “ยำทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน” เล่าว่า เดิมทำอาชีพเย็บผ้ามาก่อน แต่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงหันมาทำ “ยำทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน” ซึ่งเป็นสูตรแปลกที่ไม่ค่อยมีคนทำขาย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะมาเป็นยำทรงเครื่องเกสรมะม่วงมันนั้นก็ขาย “ยำเกสรชมพู่ม่าเหมี่ยว” ตำรับชาววังมาก่อน ซึ่งได้สูตรมาจาก อาจารย์ยาใจ เพชรรัตน์ แต่เพราะเป็นอะไรที่ต้องรอตามฤดูกาล ก็เลยดัดแปลงมาเป็นเกสรบัวหลวงและกลีบอ่อนแทน

บัวหลวงมีสรรพคุณทางยา โดยรสชาติจะต่างกันที่ยำเกสรชมพู่จะออกรสเปรี้ยว ขณะที่ “เกสรบัวหลวง” จะออกรสคล้ายมะขามเทศ แต่ปรุงเป็นยำแล้วก็จะมัน ๆ อร่อยดีอีกแบบ

“ยำ ทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน” ก็มีสรรพคุณด้านสมุนไพร ประโยชน์ทางสมุนไพรของบัวหลวงก็มีมากอยู่ และที่สำคัญบัวหลวงนั้นมีขายตลอดทั้งปี จึงเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย

สำหรับ วัตถุดิบในการขายยำชนิดนี้นั้น หลัก ๆ คือใช้มะม่วงมัน ร้านนี้จะใช้วันละ 10-15 กก. ใช้มะม่วงพันธุ์แรด หรือน้ำดอกไม้ก็ได้ และบัวหลวงประมาณ 2 กำ ๆ ละ 10 ดอก นอกจากนี้ส่วนประกอบอื่น ๆ คือ น้ำเชื่อม ใช้น้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับน้ำเปล่าประมาณ 3 กก. จนออกเป็นน้ำเชื่อม, ถั่วลิสงคั่ว 500 กรัม, กุ้งแห้ง 500 กรัม, มะพร้าวคั่ว 500 กรัม, ปลากรอบ 500 กรัม, ปลาหมึกกรอบ 500 กรัม, หอมแดงซอย 1 กก., กะปิหอมอย่างดี 1 กก., หอมเจียว (เจียวสำเร็จแล้ว) ประมาณ 1 ถุง (ราคา 24 บาท)

คุณน้อยบอกว่า วัตถุดิบที่ใช้หลัก ๆ ก็มีเพียงเล็กน้อย แต่การจัดร้านต้องดึงดูดลูกค้า ร้านของตนนั้นเป็นร้านรถเข็นธรรมดา แต่จะจัดร้านให้สวยงาม และดูดี ซึ่งตนก็เป็นคนชอบทำร้านให้สวยงาม เพื่อทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของที่ร้าน ซึ่งร้านของคุณน้อยก็ประสบความสำเร็จในจุดนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ยำ ทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน มีส่วนผสมของมะม่วงมันซอย (พอประมาณ), ถั่วลิสงคั่ว, มะพร้าวคั่ว, กุ้งแห้ง, หอมเจียว, หอมแดงซอย และเกสรบัว 1 ดอก ปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม (น้ำตาลปี๊บเคี่ยว) พริกป่น และพริกขี้หนูซอย ซึ่งจะใส่ส่วนผสมลงในกะละมังที่เตรียมไว้ คลุกเคล้า และปรุงรสจนใช้ได้

การ ปรุงขายก็จะสอบถามลูกค้าว่าชอบรสชาติประมาณไหน ปรุงตามนั้นก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ขายในราคา 25-30 บาท (ตามปริมาณเกสรบัว ถ้าลูกค้าต้องการเพิ่มเกสรบัวก็จะต้องเพิ่มเงินอีกเล็กน้อย)

นอกจาก ยำทรงเครื่องเกสรบัวหลวง-มะม่วงมัน คุณน้อยยังให้สูตร “ยำมะม่วงปูจืด” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมนูเด็ดของร้านด้วย ซึ่งมีส่วนผสมของ มะม่วงซอย, กะปิหอม, หอมแดงซอย, มะพร้าวซอย ปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม (น้ำตาลปี๊บเชื่อม) พริกสด และโรยหน้าด้วยปูจืด ซึ่งดองเกลือเอง ขายในราคาถุงละ 25-30 บาท

และ ยังมีสูตร “ยำมะม่วงปลากรอบ” ซึ่งมีส่วนผสมของมะม่วงซอย, หอมแดงซอย, ปลากรอบ, ถั่วลิสงเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม (น้ำตาลปี๊บเชื่อม) พริกป่น พริกนี้หนู และน้ำมะนาว ขายในราคาถุงละ 25-30 บาทเช่นกัน

ในแต่ละ วัน คุณน้อยจะลงทุนประมาณ 1,000 บาท โดยถ้าขายหมด หักทุนแล้วจะมีกำไรประมาณวันละ 500 บาท ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าไม่ได้มากมาย เพราะใช้ของดี และมือหนัก ใส่เครื่องเยอะ แต่ก็พออยู่ได้

ปัจจุบัน คุณน้อยจะเข็นรถเข็นขายยำระหว่างซอยวุฒากาศ 1 กับซอยวุฒากาศ 11 (ฝั่งธนบุรี) ทุกวัน ตั้งแต่ 12.00-20.00 น. หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-7543-4130 ทั้งนี้ อาชีพขายอาหารการกินอย่าง “ยำ” นั้น ยังพอไปได้ และ “พลิกแพลงได้หลากหลาย” ก็อยู่ที่ว่าใครจะพลิกแพลงจนโดนใจลูกค้าได้แค่ไหน

ที่ มา เด ลินิวส์


สุภา รัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล :รายงาน

คู่มือลงทุน...ยำทรงเครื่อง
ทุน อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบร้าน
ทุนวัตถุดิบ 60-70% ของราคาขาย
รายได้ ขายชุดละ 25-30 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด ย่านอาหาร, ย่านชุมชนทั่วไป
จุดน่าสนใจ เครื่องยำแปลก ๆ เป็นจุดขาย
กระดุม (1) กระเป๋าหนัง (1) กระเพาะปลาน้ำแดง (1) กระยาสารท (1) กับข้าวถุง (1) กาแฟชัก (1) การประกอบอาชีพอิสระ (1) การเพาะ เห็ด (1) ขนมเค้ก (1) ขนมโบราณทำเงิน (1) ขนมเปี๊ยะ (1) ขนมเปี๊ยะอบเทียน (2) ขยะ ลวด (1) ของฝาก (1) ขาย (1) ขายคล่อง (2) ขายความสนุก (1) ขายน้ำผลไม้ ปั่น (1) ขายปลาทูนึ่ง (1) ขายไอเดีย (1) ข้าวซอย (1) คลับแอสทีเรีย (1) เครื่องดื่ม (2) โคมไฟดินหอม (1) งาน (2) งานขายไอเดียราคาดี (1) งานประดิษฐ์ (2) งานผ่าน เน็ต (1) งานไม้ (1) งานเสริม (1) จ๊อปลาทู (1) จากดินญี่ปุ่น (1) ซองใส่มือถือ (1) ซาลาเปา (1) ซีฟู้ดกระทะ (1) โดนัทเค้ก (1) ติดตู้เย็น (1) ติดเสื้อ (1) ตุ๊กตา ถุงเท้า (1) ตุ๊กตาไทย (1) ตุ๊กตาไม้โย โย่-ล้มลุก (1) ตุ๊กตาโยโย่ (1) ตู้(เรือ)ปลา (1) ถักทอจินตนาการ (1) ถั่วแดงเย็น (1) ทองพับ (1) ทอลูกปัด (1) ทับทิม กรอบรวมมิตร (1) ทำธุรกิจอะไรดีจึงจะรวย (1) ทำไม่ยาก (1) ทำเองได้ (1) ที่ติดตู้ เย็น (1) ทุนต่ำ (1) เทียนหอมกัน ยุง (1) ธุรกิจแฟรนไชส์ (1) น่ารักๆ (1) น้ำ เงี้ยว (1) น้ำบ๊วย (1) บะหมี่-เกี๊ยว (1) บีบี (1) บุฟเฟ่ต์ (1) เบเกอรี่ (1) ประดิษฐ์ ดอกไม้ (1) ปาท๋องโก๋เกลียว (1) เป็นอาชีพเสริม (2) แปรรูปผลไม้ (1) ผีเสื้อ ใบยาง (1) พลิกแพลง (1) พวงมาลัยสบู่ (1) เพนท์สี (1) เพื่อสุขภาพ (1) มนุษย์ เงินเดือนมืออาชีพ (1) มีสูตรเด็ดขายที่ไหนก็รวย (1) แมงมุม (1) ย้อมผ้าแบบญี่ปุ่น (1) ยาโมโน ซาชิ (1) ยำทรงเครื่อง (1) รวย (1) รอง เท้านินจา (1) ราคาดี (2) รายได้ (1) รายได้พิเศษ (2) รายได้สวย สร้างรายได้ (4) รายได้เสริม (4) โรตีสไตล์พิซซ่า (1) ลองกอง (1) ลูกเดือยทอดกรอบ (1) ลูกหยีกวน (1) เลี้ยง ผึ้งจิ๋ว (1) วันแม่ (1) สมุนไพรทำเงิน (1) สร้างรายได้ (23) สร้างเลียนแบบ (1) สร้างอาชีพ (11) สินค้าแปรรูป (2) สูตรปักษ์ใต้ (1) ไส้แกง (1) หน้ากากบีบี (1) อาชีพ (1) อาชีพเสริม (29) อาชีพอิสระ (4) อาหารก๊อปปี้ (1) ไอเดียเก๋ไก๋ (1) ไอเดียแปลก (1) ไอศครีมทุเรียน (1) Happy Cake (1)

ผู้ติดตาม

..